Carbon Footprint คืออะไร เกี่ยวข้องกับคนทั่วไปอย่างไร ทำไมต้องมีการวัด Carbon Footprint วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
ทุกวันนี้เรื่องสำคัญที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจคือเรื่องภาวะโลกร้อน (Global Warming) อย่างไรก็ตาม ในเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้ประกาศว่า “พวกเราอยู่ในยุคภาวะโลกเดือดแล้ว (Global Boiling)” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
สาเหตุสำคัญของภาวะโลกเดือดมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas: GHG)โดยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดย CO2 เป็น GHG ที่มีปริมาณมากที่สุดและมีต้นตอมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของ GHG ทำให้อุณภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นแล้ว 1.2 oC โดยช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอุณภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกออกมาเตือนว่าในปีหน้าโลกจะเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งจะทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าที่เคยเป็นมา และจะยาวนานถึงปี ค.ศ. 2029 โดยหากเราไม่ช่วยกันลด GHG นับตั้งแต่ตอนนี้ อุณภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 oC ภายใน 2 ปี และสภาพภูมิอากาศแปรปรวนจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก ดังนั้นปัญหาสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล หรือองค์กรขนาดใหญ่อีกต่อไป แต่พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน
ทุกวันนี้เราอาจก่อให้เกิด GHG โดยที่เราไม่รู้ตัว เนื่องจาก GHG เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นได้โดยตรงว่ามีที่มาจากไหน ในปริมาณเท่าไร นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นการวัด GHG จากกิจกรรมต่างๆ ที่เรียกว่า Carbon footprint ซึ่งเป็นรอยเท้าของ GHG จากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น การคำนวณ Carbon footprint จะทำให้เรารู้ว่ากิจกรรมต่างๆ ที่เราทำก่อให้เกิด GHG มากแค่ไหน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะได้นำไปลด GHG ได้ตรงจุด
วิธีคำนวณ Carbon footprint อย่างง่าย
โดยการคำนวณ Carbon footprint เราจะต้องใช้ Emission factors (EF) ที่เป็นซึ่งเป็นมูลค่าการปล่อย GHG จากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยเผยแพร่โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)
ในการคำนวณ Carbon footprint ด้วยตนเองสามารถทำได้ดังนี้
-
จำแนกรายการกิจกรรมที่ก่อให้เกิด GHG ในชีวิตประจำวัน ในรอบระยะเวลาหนึ่ง อาจเริ่มต้นที่ระยะเวลา 1 เดือนก่อนก็ได้และขยายเป็นระยะเวลา 1 ปี เช่น การทำอาหารด้วยก๊าซหุงต้ม ปริมาณการใช้ไฟฟ้า การเดินทางรูปแบบต่างๆ เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า เป็นต้น
-
จัดเก็บข้อมูลตามกิจกรรม เช่น มีการใช้ก๊าซหุงต้มกี่กิโลกรัม เดินทางด้วยรถยนต์ รถยนต์ จักรยานยนต์ รถโดยสารประจำทาง เป็นระยะทางกี่กิโลเมตร มีการใช้ไฟฟ้ากี่หน่วยต่อเดือน น้ำหนักของขยะพลาสติกต่อเดือน เป็นต้น
-
คำนวณ Carbon footprint ด้วย EF
Carbon footprint ของกิจกรรมที่ปล่อย GHG เป็นจำนวนมาก
-
เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว เฉลี่ยปีละ 20,000 km คิดเป็นปริมาณน้ำมันประมาณ 1,400 ลิตร เท่ากับ 3,125.8 kgCO2e/ปี หรือเทียบเท่าปลูกต้นไม้ 209 ต้นเพื่อลด GHG (EF การใช้รถยนต์ 2.2327 kgCO2e/ลิตร)
-
การใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 3,600 หน่วยต่อปี (300 หน่วยต่อเดือน) เท่ากับ GHG 1,799.64 kgCO2e/ปี หรือเทียบเท่าปลูกต้นไม้ 120 ต้น เพื่อลด GHG (EF การใช้ไฟฟ้า 0.4999 kgCO2e/หน่วย)
-
การใช้ก๊าซหุงต้ม 2 ถังต่อปี ถังละ 15 kg หรือปีละ 30 kg เท่ากับ GHG 93.4 kgCO2e/ปี หรือเทียบเท่าปลูกต้นไม้ 7 ต้น (EF ก๊าซหุงต้ม 3.1134 kgCO2e/kg)
ทั้ง 3 กิจกรรมมีการปล่อย GHG เท่ากับ 5,018 kgCO2e/ปี หรือซึ่งถ้าหากจากลด GHG จำนวนดังกล่าวต้องปลูกต้นไม้มากถึง 336 ต้น
ลด Carbon footprint ได้อย่างไร
จะเห็นได้ว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวและการใช้ไฟฟ้ามีการปล่อย GHG เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถลด GHG ได้ด้วยการเปลี่ยนไปเดินทางด้วยรถยนต์สาธารณะหรือหันไปใช้รถไฟฟ้าสามารถลด GHG ได้ประมาณ 80%
การลดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก็ช่วยลดการปล่อย GHG ได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามาจากก๊าซธรรมชาติเป็นส่วน อีกทางเลือกหนึ่งคือการหันมาติดตั้ง Solar Cell เพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทดแทน
นอกเหนือจากนี้
การลดการใช้ขยะ ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการแยกขยะให้ถูกต้องเพื่อนำกลับไป Recycle อย่างถูกต้องจะช่วยลด GHG จากกระบวนการกำจัดขยะ อีกทั้งยังช่วยระบบนิเวศน์ทางอ้อม ไม่ให้มีขยะตกค้างไปสู่ธรรมชาติ เช่นขยะในแหล่งน้ำ ในทะเล ซึ่งส่งผลให้ที่สัตว์ทะเลเสียชีวิตจากการกินขยะ
การคำนวณ Carbon footprint เป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยโลกจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไร ผลกระทบต่ออุณภูมิโลกที่สูงขึ้นก็จะลดลงเร็วเท่านั้น
ที่มา
-
https://climate.copernicus.eu/2023-track-be-hottest-year-ever-whats-next
-
https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dVgyUnZkMjVzYjJGaw
-
https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-12-02/global-temperatures-already-1-2-c-above-pre-industrial-levels
-
https://www.theverge.com/2023/5/20/23730210/el-nino-economic-costs-dartmouth-study
-
https://netzeroclimate.org/research/the-urgency-of-zero/
|
Click ชมคลิป Carbon Footprint…จุดเริ่มต้นการลดก๊าซเรือนกระจก ที่ ใครก็ทำได้ |
Scan QR Code
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น