ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) และธนาคารกสิกรไทย (KBank) ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) จัดทำ ”รายงานสถานการณ์และแนวโน้มตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจประเทศไทยปี 2567”
ตลาดคาร์บอนเครดิตประเทศไทยอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ผู้เล่นในตลาดยังคงเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีการดำเนินการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก (GHG)
ความต้องการในตลาด (Demand) ยังมีสูงโดยเฉพาะธุรกิจในสาขาขนส่งและการผลิตที่มีความต้องการบรรลุเป้าหมาย Net Zero และได้รับผลกระทบจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเช่น EU-CBAM หรือ พ.ร.บ Climate Change ที่คาดว่าจะมาปีหน้า ขณะที่ในด้านผู้พัฒนาโครงการ (Supply) หันไปสนใจโครงการประเภทป่าไม้มากขึ้น แต่ไม่ได้นำคาร์บอนเครดิตออกขายในตลาดเพราะจะเก็บไว้ชดเชย GHG ของตนเอง
เกิดความไม่สมดุลของราคาที่ยินดีจะซื้อจะขาย (Willingness to Pay) โดยผู้ซื้ออยากซื้อคาร์บอนเครดิตในราคาต่ำ แต่ผู้ขายอยากขายราคาสูง โดยส่วนต่างของราคามีสัดส่วนมากที่สุดในคาร์บอนเครดิตโครงการประเภทป่าไม้ ซึ่งต้องอาศัยมาตรการของรัฐในการสนับสนุนด้านต้นทุนในการพัฒนาโครงการและให้เงินอุดหนุน
ผู้เล่นในตลาดต้องการให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมตลาดทั้งในด้านการสนับสนุนทางการเงิน การพัฒนามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และการพัฒนาตลาดให้เชื่อมโยงกับตลาดในต่างประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในอนาคต พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จะมีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ธุรกิจบางอุตสาหกรรมต้องเข้าร่วมตลาดคาร์บอนเครดิตภาคบังคับ รวมถึงจะมีการกำหนดความเชื่อมโยงระหว่างตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจและภาคบังคับ ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานในตลาดมีมากขึ้น รวมถึงราคาคาร์บอนเครดิตจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
Scan QR Code
หมายเหตุ
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น