Display mode (Doesn't show in master page preview)

7 มีนาคม 2565

Econ Digest

KResearch : วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจ (7 มีนาคม 2565)

คะแนนเฉลี่ย

​คาดสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง ขณะที่ ราคาน้ำมันพุ่งเหนือ 130$/barrel

- สัปดาห์ที่ผ่านมารัสเซียยังคงโจมตียูเครนต่อเนื่อง แม้จะมีการเจรจากันแล้วถึงสองครั้งและมีการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นจากชาติตะวันตก ขณะที่ยูเครนได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก EU ท่ามกลางสถานการ์ณความวุ่นวายดังกล่าว ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงเผชิญปัจจัยกดดันและปรับลดลงจากสถานการณ์ดังกล่าว
- ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น และจีนลดลงเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน โดยบรรยากาศการซื้อขายในจีนได้รับปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากดัชนี PMI ที่ออกมาปรับตัวลดลงจากนโยบาย Zero Covid-19 ด้านตลาดหุ้นไทยปรับร่วงลงหนักในท้ายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง โดยสธ.มองว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลงในช่วงปลายเดือนพ.ค. ทั้งนี้ นลท.ต่างชาติยังซื้อสุทธิ
- ตลาดหุ้นยุโรปปรับร่วงลงหนักในรอบ 1 ปี เนื่องจากยุโรปต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ค่าเงินยูโรดิ่งลงหนักในรอบเกือบ 2 ปี นอกจากนี้ ตัวเลขค้าปลีกยังออกมาอ่อนแอกว่าคาด ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดร่วงลงเช่นกัน แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากถ้อยแถลงของประธาน Fed ที่ระบุว่ามีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาดการณ์ ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ยังออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่องตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 678,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.8%
- นักลงทุนยังเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำโดยราคาทองคำปิดใกล้ระดับ 2,000 $/oz ขณะที่ราคาน้ำมัน Brent และ WTI ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยพุ่งขึ้นเหนือระดับ 100 $ / barrel
- เงินเฟ้อไทยเดือนก.พ เพิ่มขึ้น 5.2% สูงสุดในรอบ 13 ปี ปัจจัยกดดันหลักมาจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่สูงขึ้น  ทั้งนี้ภาครัฐกำลังเตรียมกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าสถานการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มจะสูงเกินกรอบเป้าหมายของธปท. ที่ 3% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565
- ปัจจัยติดตามวันนี้ ได้แก่ 1) สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครน (การเจรจาครั้งที่ 3/การคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก) 2) ตัวเลขส่งออกนำเข้าของสหรัฐฯ รวมถึง GDP ไตรมาส 4 ของยุโรปและญี่ปุ่น 3) การประชุม ECB


 
 

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest