Display mode (Doesn't show in master page preview)

25 เมษายน 2565

Econ Digest

KResearch : วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจ (25 เมษายน 2565)

คะแนนเฉลี่ย

​สัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นไทยรอติดตามผลประกอบการไตรมาส 1/65 ขณะที่จุดสนใจของตลาดต่างประเทศอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นและตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ

- ในสัปดาห์ที่ผ่านมา บรรยากาศการลงทุนถูกกดดันจากความกังวล 2 เรื่อง ได้แก่ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก (IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลงมาที่ 3.6%) และสัญญาณเร่งคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแรงเทขายในหุ้นยุโรป และสหรัฐ รวมถึงตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชีย โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนกับฮ่องกง
- ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงร่วงลงมากกว่าตลาดหุ้นเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน และการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่เพื่อสกัดโควิด ขณะที่ตลาดมองว่า แรงกระตุ้นจากมาตรการทางการเงินที่ธนาคารกลางจีนประกาศออกมายังไม่เพียงพอที่จะหนุนเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องในไตรมาส 2/65
- ตลาดหุ้นไทยปิดบวกสวนทิศทางตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชีย รับข่าวการผ่อนคลายมาตรการเปิดรับนทท. ต่างชาติ โดยมีการยกเลิก test&go ขณะที่เงินบาทที่อ่อนค่าหนุนหุ้นกลุ่มส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ เผชิญแรงเทขายหนักๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยลบหลักๆ มาจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และสัญญาณคุมเข้มของเฟด รวมถึงโอกาสขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ก่อนปลายปีนี้   
- เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับหลายสกุลเงิน (เงินเยนอ่อนสุดรอบ 20 ปี เงินหยวนอ่อนค่าสุดรอบ 7 เดือน) ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 2 ปี และ 10 ปี แตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือนที่ 33.96 บาทต่อดอลลาร์ฯ เมื่อวันศุกร์ แต่ร่วงลงต่อเนื่องในช่วงเช้าวันจันทร์ ทดสอบแนว 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ
- ราคาทองคำปรับลงท่ามกลางสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟด ส่วนราคาน้ำมันเผชิญแรงเทขายท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่กระทบความต้องการใช้น้ำมัน
- ผลการเลือกตั้งปธน. ฝรั่งเศสเบื้องต้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา สะท้อนว่า นายเอ็มมานูเอล มาครงเป็นผู้ชนะ กลับมาครองเก้าอี้สมัยที่สองได้ ซึ่งตลาดตอบรับข่าวดี เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงเช้าของตลาดเอเชีย
-ปัจจัยที่ต้องติดตาม: 1) ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ที่วัดจากดัชนีราคา PCE/Core PCE Price Index ของสหรัฐฯ 2) ผลการประชุม BOJ 3) ผลประกอบการไตรมาส 1 ของบจ. และ 4) รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนมี.ค. ของธปท.
-สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ คาดไว้ที่ 33.70-34.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ

 
 

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest