Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 กันยายน 2566

Econ Digest

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 28 ส.ค. – 1 ก.ย. 66)

คะแนนเฉลี่ย

สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท

  • เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ประกอบกับน่าจะมีแรงกดดันบางส่วนจากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดีเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวลง หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด (อาทิ การเปิดรับสมัครงานเดือนก.ค. และการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP เดือนส.ค.) ซึ่งหนุนการคาดการณ์ว่า เฟดอาจยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่กรอบเดิมที่ 5.25-5.50% ในการประชุม FOMC เดือนก.ย. นี้ เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบที่แคบลงในช่วงปลายสัปดาห์ เพราะแม้จะมีแรงหนุนจากสัญญาณการดูแลเงินหยวนของทางการจีน แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีแรงกดดันจากแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
  • สัปดาห์ระหว่างวันที่ 4-8 ก.ย. 2566 KBank คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 34.80-35.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ อัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ค่าเงินหยวน รายงาน Beige Book ของเฟด ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนส.ค. ของสหรัฐฯ จีน ยูโรโซน และอังกฤษ ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลีย ตลอดจนตัวเลขการส่งออกเดือนส.ค. ของจีน


สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

  • ดัชนีหุ้นไทยแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือนที่ระดับ 1,579.43 จุดช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาปิดใกล้เคียงระดับปิดสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้หุ้นไทยปรับตัวขึ้นช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ท่ามกลางความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ประกอบกับมีแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า เฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยหลังข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ดี หุ้นไทยลดช่วงบวกลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางแรงเทขายของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ นำโดย หุ้นกลุ่มพลังงาน นอกจากนี้ ข่าวการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของบจ. บางแห่งก็มีส่วนกดดันบรรยากาศการลงทุนช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน
  • สัปดาห์ที่ 4-8 ก.ย. 2566 KSecurities คาดแนวรับที่ 1,550 และ 1,540 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,580 และ 1,600 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนส.ค.ของไทย สถานการณ์การเมืองในประเทศ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ดัชนี PMI ภาคการบริการเดือนส.ค. ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และยูโรโซน รายงาน Beige Book ของเฟด ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/66 ของญี่ปุ่น ตลอดจนตัวเลขส่งออกเดือนส.ค.ของจีน

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น