Display mode (Doesn't show in master page preview)

11 มีนาคม 2566

Econ Digest

ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย (สัปดาห์ที่ 6-10 มี.ค. 66)

คะแนนเฉลี่ย

สรุปความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท

  • เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาอ่อนค่าลงตามทิศทางสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ จากสุนทรพจน์ของประธานเฟด ซึ่งสะท้อนว่า เฟดจะยังคงต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป โดยเฉพาะหากข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงมีสัญญาณดีต่อเนื่อง ขณะที่มีความไปได้มากขึ้นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ที่สะท้อนจาก dot plot ใหม่ของเฟดจะสูงขึ้นกว่าที่เคยให้ไว้เดิม อย่างไรก็ดี แรงขายเงินบาทชะลอลงบางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ หลังตลาดปรับตัวรับสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินจากประธานเฟดไปมากแล้ว ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงรอปัจจัยใหม่มากระตุ้น โดยเฉพาะข้อมูลตลาดแรงงานในเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ  
  • สัปดาห์ระหว่างวันที่ 13-17 มี.ค. 2566 KBank คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 34.50-35.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุม ECB ทิศทางเงินลงทุนของต่างชาติและสกุลเงินเอเชีย ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ และยูโรโซน ตลอดจนดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์จากมุมมองผู้บริโภค ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนมี.ค. ของสหรัฐฯ


สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

  • หุ้นไทยดีดตัวขึ้นในช่วงแรก โดยมีแรงหนุนจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของไทยที่ชะลอตัวลงและแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ก่อนจะร่วงลงในเวลาต่อมาโดยถูกกดดันจากถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าคาดเพื่อคุมเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นช่วงสั้นๆระหว่างสัปดาห์ โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีช่วยหนุน โดยเฉพาะหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่ง จากความคาดหวังเรื่องแนวโน้มธุรกิจ อนึ่งนักลงทุนต่างชาติยังคงมีสถานะขายสุทธิหุ้นไทยในสัปดาห์นี้
  • สัปดาห์ที่ 13-17 มี.ค. 2566 KSecurities คาดแนวรับที่ 1,590 และ 1,575 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,620 และ 1,630 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุม ECB ทิศทางเงินทุนต่างชาติ ประเด็นการเมืองภายในประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ และยูโรโซน และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.พ. ของจีน อาทิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น