Display mode (Doesn't show in master page preview)

10 กรกฎาคม 2562

Econ Digest

RCEP ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

คะแนนเฉลี่ย
​       ผลการประชุม ASEAN Summit 2019 ที่ผ่านมา มีแผนผลักดันกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือชื่อเดิมคือ ASEAN +6) ให้ได้บทสรุปภายในปี 2562 นับเป็นโจทย์สำคัญของไทยในฐานะประธานอาเซียนในการผลักดันการเจรจาเปิดเสรีในมิติต่างๆ ที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุป
ร่วมกันได้ โดยเฉพาะการเปิดตลาดของอินเดียกับประเทศสมาชิก ซึ่งอาเซียนอาจเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยและผสานประโยชน์ของประเทศสมาชิก ให้สามารถยอมรับเงื่อนไขการเปิดเสรีระหว่างกัน จน RCEP สามารถเกิดขึ้นได้ในที่สุด ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียนกลายเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ​
​      ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปิดเสรี RCEP จะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการรวมตัวทางการค้าเสรีแบบพหุภาคีที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก สร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าเสรีโลกที่กำลังถูกบั่นทอนจากสงครามการค้าในขณะนี้ โดยอานิสงส์ที่ตามมาในระยะเริ่มแรก คือ ประเทศ Plus 6 ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะได้ประโยชน์ในการเข้าถึงตลาดของกันและกัน จากเดิมที่ไม่เคยมี FTA ร่วมกันมาก่อน สำหรับไทยนั้น การได้ประโยชน์จากการลดกำแพงภาษีของ RCEP มีค่อนข้างจำกัด เพราะไทยได้เปิดเสรีการค้ากับ 16 ประเทศในกลุ่ม RCEP ไปแล้ว แต่ไทยจะได้รับผลบวกทางอ้อม คือ สินค้าไทยที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดิมจะเติบโตตามไปด้วย ขณะที่ในระยะต่อไป RCEP จะทำให้เกิดการจัดสรรการผลิตและการลงทุนในภูมิภาคครั้งใหม่ จึงเป็นโจทย์ท้าทายสำคัญของทางการไทยที่ต้องเร่งสร้างแรงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการต่อยอดจากการลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิมไปสู่เทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งผลักดันการลงทุนระลอกใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตให้เกิดขึ้นได้อย่างจริงจัง ก่อนที่ไทยจะสูญเสียโอกาสเหล่านี้ไป


Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

Econ Digest