Display mode (Doesn't show in master page preview)

28 มกราคม 2564

อุตสาหกรรม

ส่งออกสินค้าห่วงโซ่ประมงปี’64: โควิคระลอกใหม่กระทบระยะสั้น แต่ภาระต้นทุนและการแข่งขันรุนแรง อาจฉุดหดตัว -5% ถึง 0% (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3184)

คะแนนเฉลี่ย

​​ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า COVID-19 ระลอกใหม่อาจส่งผลระยะสั้นต่อความเชื่อมั่นของคู่ค้าเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร แต่ความท้าทายถัดจากนั้น น่าจะอยู่ที่อุปสงค์ในตลาดผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างจำกัด การแข่งขันในตลาดการค้าที่รุนแรง เพราะคู่แข่งพร้อมขยับไปสู่ระดับที่สูงขึ้น แต่ความสามารถด้านการแข่งขันของไทยกลับยังไม่สามารถกระเตื้องขึ้นมาได้ เนื่องจากมีปัจจัยกดดันเรื่องค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มจะแข็งค่า รวมถึงสถานการณ์การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเผชิญกับภาระต้นทุนและสินค้าแข่งขันได้ยากลำบากมากขึ้น กดดันให้ภาพการส่งออกสินค้าในห่วงโซ่ประมงปี 2564 มีแนวโน้มจะหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในห่วงโซ่ประมงของไทย ปี 2564 น่าจะอยู่ที่ระดับ 5,200-5,440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวอยู่ในกรอบ -5.0% ถึง 0.0% โดยสินค้าที่มีโอกาสหดตัวต่อเนื่องจะอยู่ในกลุ่มสินค้าประมง ส่วนอาหารทะเลแปรรูปนั้น อาจได้รับอานิสงส์จากความต้องการในตลาดที่มีอยู่บ้าง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี แต่ด้วยฐานที่ขยับสูงขึ้นในปี 2563 จากความต้องการที่เร่งขึ้นในตลาดหลักช่วง Lockdown ปีก่อน อาจทำให้ภาพการส่งออกมีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน

สำหรับการรับมือกับตลาดผู้บริโภคในภาวะซบเซา ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านอาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างจากคู่แข่งและสอดรับกับตลาดผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่วนในระยะยาว ประเด็นด้านแรงงานและความปลอดภัยด้านอาหาร อาจถูกหยิบยกมาใช้เพื่อกีดกันทางการค้ามากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการอาจมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการเพิ่มเติม แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับสินค้าในห่วงโซ่ประมงของไทยในระยะยาว


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม