Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 มีนาคม 2562

เกษตรกรรม

ภัยแล้งปี 2562...ประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 15,300 ล้านบาท (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2972)

คะแนนเฉลี่ย

         ภัยแล้งในปี 2562 ได้เริ่มส่งสัญญาณให้เห็นจากฤดูร้อนที่มาเร็วและนานกว่าทุกปี ซึ่งจะกระทบต่อปริมาณน้ำฝนและทำให้ปริมาตรน้ำในเขื่อนหลักอยู่ในระดับต่ำ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ฤดูแล้งที่เกิดขึ้นในปี 2562 ซึ่งอาจลากยาวจนถึงเดือนพ.ค.2562 อาจกระทบในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปรัง และอ้อยเป็นหลัก ซึ่งเป็นพืชที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อออกสู่ตลาดในช่วงนี้ จนอาจกระทบต่อรายได้เกษตรกรให้ต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้น  

            ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผลกระทบจากภัยแล้งในปี 2562 อาจอยู่ในวงจำกัด ด้วยปัจจัยด้านพื้นที่และจำนวนพืชที่ได้รับผลกระทบ โดยภัยแล้งที่เกิดขึ้นดังกล่าว นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อผลผลิตแล้ว ยังอาจไม่ได้เป็นปัจจัยผลักดันราคาข้าวและอ้อยได้อย่างมีนัยสำคัญ เพียงแต่อาจช่วยประคองราคาไว้ได้บ้างในระยะสั้น ท่ามกลางภาวะที่คู่แข่งในตลาดข้าวและอ้อยรุนแรงขึ้น ท้ายที่สุด อาจส่งผลต่อรายได้เกษตรกรในปี 2562 ให้ยังคงหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2-1.6 (YoY) จากผลของแรงฉุดด้านผลผลิต

         ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบในเบื้องต้นของสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2562 ที่ส่งผลกระทบต่อความเสียหายของข้าวนาปรังและอ้อยเป็นหลัก อาจทำให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 15,300 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP ทั้งนี้ หากรวมผลเสียหายของพืชเกษตรอื่น อาจทำให้มีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งยังต้องมีการติดตามระยะเวลาและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นระยะ และอาจต้องมีการทบทวนตัวเลขนี้ตามความเหมาะสมในระยะต่อไป รวมทั้งต้องติดตามสภาพภูมิอากาศในช่วงระยะข้างหน้า เนื่องจากยังไม่สิ้นสุดฤดูแล้ง และระดับความรุนแรงของฤดูแล้งอาจไม่เท่ากันในแต่ละเดือน

​​

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม