Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 ตุลาคม 2563

อุตสาหกรรม

ประเด็นเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นการใช้เหล็กภายในประเทศ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3146)

คะแนนเฉลี่ย

               ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศเผชิญความท้าทายจากประเด็นความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจากเหล็กนำเข้าจากจีนมาโดยตลอด สาเหตุหลักมาจากปัญหาเหล็กล้นตลาด ที่เริ่มเมื่อปี 2557 ผู้ผลิตเหล็กจีนจึงเร่งระบายสินค้า ผ่านการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงไทย ที่เป็นประเทศนำเข้าเหล็กอันดับต้นๆ ของโลก ทั้งนี้แม้หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย มีวิธีการรับมือปริมาณเหล็กจากจีนจำนวนมากที่เข้ามายังตลาดในประเทศตน ผ่านการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) มาตรการปกป้องการนำเข้า (Safeguard) แต่ก็ช่วยบรรเทาผลกระทบได้ระดับหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นที่มาของการที่ผู้ประกอบการผลิตเหล็กในไทยพยายามเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศอย่างต่อเนื่อง

            ​​​  ดังนั้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) เพิ่มหมวด 9 พัสดุ ส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะเหล็กที่จะให้ใช้เป็นสัดส่วน 90% ของมูลค่าหรือปริมาณทั้งหมดที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดครั้งนั้น แต่เหล็กนั้นต้องผ่านการอณุมัติจากหน่วยงานรัฐว่าเป็นพัสดุที่ผลิตภายในประเทศก่อน นอกจากนั้นบริษัทสัญชาติไทยจะชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุหากเสนอราคาสูงกว่าราคาประมูลต่ำสุดไม่เกินร้อยละ 3

              ​   ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า นโยบายนี้น่าจะช่วยเพิ่มการผลิตเหล็กในประเทศอีกปีละประมาณ 3.6 แสนตันต่อปี ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิต เพิ่มจาก 55% เป็น 58.6% ในขณะเดียวกันอาจมีผลให้ต้นทุนก่อสร้างในโครงการภาครัฐเพิ่มขึ้นประมาน 0.5-0.8%


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม