5 กันยายน 2565
ตลาดการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
22 สิงหาคม 2565
8 สิงหาคม 2565
25 กรกฎาคม 2565
7 สิงหาคม 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงท้ายสัปดาห์ หลังจากที่เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับภาพรวมของสกุลเงินเอเชีย ประกอบกับเงินบาทน่าจะได้รับอานิสงส์บางส่วนเพิ่มเติมจากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำด้วยเช่นกัน โดยเงินบาทแข็งค่าผ่านแนว 31.00 แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 30.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะลดช่วงบวกลงบางส่วนตามการปรับโพสิชัน หลังจากที่ธปท. เปิดเผยว่า เงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งธปท. จะติดตามการเคลื่อนไหวของเงินบาทอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แรงขายเงินดอลลาร์ฯ ยังชะลอลงช่วงท้ายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค.... อ่านต่อ
24 กรกฎาคม 2563
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนครึ่งครั้งใหม่ แต่ภาพรวมการเคลื่อนไหวของเงินบาทตลอดสัปดาห์ยังคงเป็นกรอบแคบ โดยเงินบาทมีปัจจัยกดดันด้านอ่อนค่าจากปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ ประกอบกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียถูกกระทบเป็นระยะจากสัญญาณที่มีความตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดีแรงเทขายเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงที่สินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัวจากข่าวการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทไว้ได้บางส่วน ... อ่านต่อ
10 กรกฎาคม 2563
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางเทคนิค หลังเงินบาทอ่อนค่าทะลุแนว 31.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ ประกอบกับตลาดมีความกังวลมากขึ้นต่อสัญญาณการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งจะมีผลทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกล่าช้าออกไป อย่างไรก็ดี สถานะซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยในระหว่างสัปดาห์ของนักลงทุนต่างชาติช่วยจำกัดกรอบการอ่อนค่าของเงินบาทไว้ได้บางส่วน... อ่านต่อ
3 กรกฎาคม 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่ากว่าแนว 31 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทในสัปดาห์นี้ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียบางส่วน ประกอบกับเงินบาทเริ่มทยอยอ่อนค่าลง หลังธปท. ส่งสัญญาณว่า การแข็งค่าของเงินบาทเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีมาตรการเข้ามาดูแล ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อคืนของนักลงทุน ประกอบกับความเสี่ยงที่ COVID-19 จะระบาดซ้ำในสหรัฐฯ และสัญญาณตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนในประเด็นฮ่องกง ช่วยหนุนแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
7 กุมภาพันธ์ 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงแรกตามการปรับโพสิชันก่อนการประชุมกนง. อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังกนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาที่ 1% ขณะที่ผู้ว่าการธปท. ระบุว่า แม้เงินบาทได้อ่อนค่าลงมาแล้วตั้งแต่ต้นปี แต่ยังไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่มีความอ่อนไหวอยู่มาก ทั้งนี้เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ซึ่งสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน) ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
6 ธันวาคม 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงขายในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากข้อมูล PMI ของจีนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนพ.ย. กระตุ้นแรงขายสินทรัพย์และสกุลเงินปลอดภัย เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบประมาณ 1 เดือนที่ 30.38 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังธปท. ส่งสัญญาณติดตามการเคลื่อนไหวของเงินบาท พร้อมกับระบุเตือนถึงแนวโน้มที่เงินบาทอาจผันผวนและไม่ได้แข็งค่าเพียงด้านเดียวเหมือนในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ สถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติก็เป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมที่กดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
29 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ หลังประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และจีนต่างแสดงท่าทีเชิงบวกต่อโอกาสการเกิดดีลการค้าเฟสแรกระหว่าง 2 ประเทศ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด (อาทิ จีดีพีไตรมาส 3 และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค.) ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าได้เป็นระยะในระหว่างสัปดาห์ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-และจีน โดยเฉพาะในประเด็นฮ่องกงและการเจรจารายละเอียดของดีลการค้า ขณะที่เส้นตายกำหนดการที่สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนวันที่ 15 ธ.ค. กำลังใกล้เข้ามา... อ่านต่อ
15 พฤศจิกายน 2562
เงินบาททยอยแข็งค่า โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ที่ได้รับแรงหนุนท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีสัญญาณเชิงลบตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากล่าวว่ายังไม่มีการตอบตกลงเรื่องการทยอยลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน และสหรัฐฯ อาจปรับเพิ่มภาษีอีกครั้ง หากสองประเทศไม่บรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอประเมินความคืบหน้าของดีลการค้าของสหรัฐฯ-จีนอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
8 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ระดับ 30.43 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาททยอยอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยเผชิญแรงขายเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ในช่วงกลางสัปดาห์จากมติ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมาที่ 1.25% ซึ่งเกิดขึ้นในจังหวะเดียวกับการประกาศปรับปรุงเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกของธปท. นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินและสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ อาทิ เงินเยนและทองคำ ท่ามกลางสัญญาณบวกจากการบรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
1 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ใกล้แนว 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีที่ทำไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับแรงขายเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย หลังมีรายงานข่าวระบุว่า สหรัฐฯ และจีนใกล้ที่จะบรรลุดีลการค้าเบื้องต้นระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต่อมา ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายต่อเนื่องหลังการประชุมเฟด ซึ่งมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ตามที่ตลาดคาดลงมาที่กรอบ 1.50-1.75% นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงในระยะใกล้ๆ นี้ ประกอบกับมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ในทางกลับกัน เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับงบประมาณของสหรัฐฯ และการที่ IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางส่วนที่ออกมาดีกว่าที่คาด ทำให้ตลาดระมัดระวังมากขึ้นในการประเมินมุมมองดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมสิ้นเดือนก.ค. ... อ่านต่อ
14 มิถุนายน 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่ 31.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยกดดันจากกระแสการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางที่อ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ เงินเฟ้อที่ชะลอลง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
7 มิถุนายน 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าสอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติระหว่างสัปดาห์ สวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่เผชิญแรงกดดันจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่กล่าวถึง การดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกระตุ้นกระแสการคาดการณ์ว่า เฟดมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงภายในปีนี้ นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ที่อ่อนแอก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
31 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียบางส่วนที่เผชิญแรงกดดันจากสัญญาณความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถทยอยแข็งค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่ง กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานทบทวนนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ซึ่งไทยไม่ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ถูกติดตาม (Monitoring List) ตามที่มีความกังวลในช่วงก่อนหน้านี้ ... อ่านต่อ
24 พฤษภาคม 2562
เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าเข้าใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาคท่ามกลางความตึงเครียดมากขึ้นของสถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบ และดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิค ประกอบกับตลาดหุ้นและสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ก็ฟื้นตัวขึ้นด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
17 พฤษภาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ก่อนจะดีดตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ตลาดในประเทศรอติดตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับรายงานนโยบายค่าเงินของประเทศคู่ค้าโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางความไม่แน่นอนของประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาด... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าทดสอบระดับ 31.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางสัญญาณที่ตึงเครียดขึ้นของประเด็นทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับน่าจะมีแรงซื้อคืนเงินบาทบางส่วนหลังตลาดกลับมาเปิดทำการจากช่วงวันหยุดยาว อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์หลังผลการประชุมกนง. แต่ฟื้นตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนได้ช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าผิดหวัง ประกอบกับนักลงทุนยังคงรอติดตามการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
3 พฤษภาคม 2562
เงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อย แต่ภาพรวมตลอดสัปดาห์ยังคงทรงตัวอยู่ในกรอบแคบใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ไม่ได้รับแรงหนุนมากนักก่อนการประชุมเฟดกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้นหลังการประชุมเฟด เนื่องจากเฟดยังไม่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
26 เมษายน 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าไปที่ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือน ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาบางส่วนปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติม หลังเงินยูโร ถูกกดดันจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีและยูโรโซนในภาพรวม อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและฟื้นตัวกลับมาได้เล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
19 เมษายน 2562
เงินบาทอ่อนค่ากลับมาเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังตลาดในประเทศกลับมาเปิดทำการจากช่วงวันหยุดยาว โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด (อาทิ ยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงในเดือนก.พ. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ยังคงปรับตัวลงตลอด 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา และยอดค้าปลีกในเดือนมี.ค. ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น)... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานของสหรัฐฯ เดือนก.พ. ที่หดตัวลง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ ขณะที่ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ของ IMF ลงมาที่ 3.3% เพิ่มแรงกดดันต่อสกุลเงินในภูมิภาค เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับค่าเงินหยวน หลังตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค. ของจีน ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
5 เมษายน 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค หลังจากที่ข้อมูล PMI ของจีนในเดือนมี.ค. ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากตลาดยังคงรอประเมินภาพที่ชัดเจนของปัจจัยทางการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ กลับมาได้รับแรงหนุนบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากสัญญาณที่สะท้อนภาพการคลี่คลายของประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
29 มีนาคม 2562
เงินบาทฟื้นตัวท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าลงในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับสัญญาณไหลออกของเงินทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทย ขณะที่ นักลงทุนรอติดตามปัจจัยทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนบางส่วนจากความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เงินบาทปรับตัวแตะระดับอ่อนค่าสุดของสัปดาห์ที่ 31.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ หลังจากปัจจัยทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ ... อ่านต่อ
22 มีนาคม 2562
เงินบาทแกว่งตัวระหว่างสัปดาห์ตามผลการประชุมกนง. และเฟด โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ก่อนจะอ่อนค่าไปที่ 31.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ (อ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์) ช่วงกลางสัปดาห์หลังผลการประชุมกนง. ซึ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% และมีการปรับลดตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ลง อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าในช่วงต่อมา ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังผลการประชุมเฟด โดยเฟดส่งสัญญาณว่า อาจจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในปีนี้ เงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในประเทศ... อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี ที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยง เงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความคาดหวังต่อสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาทางการค้าสหรัฐฯ-จีน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงกลางสัปดาห์อีกด้วย อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการพบกับระหว่างปธน. ทรัมป์ และรองนายกรัฐมนตรีของจีน ประกอบกับเงินบาทมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกไทยที่หดตัวลงมากกว่าคาดในเดือนม.ค.... อ่านต่อ
1 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 9 เดือนที่ 31.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังการประชุมเฟด โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขาย ท่ามกลางสัญญาณชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยเฟดได้ปรับเปลี่ยนข้อความที่เคยระบุถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป มาเป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินด้วยความระมัดระวัง ... อ่านต่อ
25 มกราคม 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น หลังจากที่อ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามการอ่อนค่าของเงินหยวน ประกอบกับมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกเดือนธ.ค. ของไทยที่อ่อนแอกว่าที่คาด โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ในช่วงกลางสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ หลังมีความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นการเลือกตั้งของไทย ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากภาวะชัตดาวน์หน่วยงานราชการสหรัฐฯ ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค. ที่หดตัวกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
30 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาแข็งค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดกำลังเข้าใกล้ระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ โดยถ้อยคำดังกล่าว ถูกตีความเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะมีจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงในช่วงปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทยังคงจำกัด เนื่องจากตลาดยังคงรอประเมินสัญญาณจากการหารือนอกรอบประชุม G20 ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีนเกี่ยวกับประเด็นทางการค้า ... อ่านต่อ
12 ตุลาคม 2561
เงินบาทฟื้นตัวขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามทิศทางค่าเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ในช่วงดังกล่าว เงินดอลลาร์ฯ ยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี CPI และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินหยวนที่กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ ก็เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
เงินบาทกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน หลังการประชุมกนง. โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับกรณีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจากจีนรอบใหม่ อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวขึ้น และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ 32.32 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยได้รับแรงหนุนจากผลการประชุมกนง. ล่าสุดที่มีคณะกรรมการกนง. 2 เสียงเสนอให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ แถลงการณ์หลังการประชุมกนง. ระบุเพิ่มเติมถึงแนวโน้มการทยอยลดความจำเป็นสำหรับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
14 กันยายน 2561
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของสกุลเงินในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังได้แรงหนุนต่อเนื่องจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่ากลับมาในช่วงปลายสัปดาห์ตามสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากข้อมูลเงินเฟ้อ (ทั้งดัชนี PPI และ CPI) ของสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าที่คาด ขณะที่ สัญญาณที่เตรียมจะยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของ ECB ก็เป็นปัจจัยลบของดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
7 กันยายน 2561
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แต่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลง สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ที่เผชิญแรงกดดันจากความกังวลต่อความเปราะบางของเศรษฐกิจและสกุลเงินของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้า ทั้งประเด็นกับจีนและแคนาดา ที่ยังอยู่ระหว่างการรอแนวทางสรุปที่ชัดเจน นอกจากนี้ แรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัดในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด กระตุ้นแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ปลายสัปดาห์... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.65 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังเงินหยวนและสกุลเงินภูมิภาคในภาพรวมขยับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางความคาดหวังต่อการเจรจารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน เพื่อลดความขัดแย้งในประเด็นด้านการค้าระหว่างสองประเทศ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ กลับมาเผชิญแรงขายอย่างหนัก หลังจากปธน. ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของประธานเฟด โดยไม่อยากให้เฟดดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดจนเกินไป อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงบางส่วนในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้น ตามแรงซื้อคืนของนักลงทุนก่อนการประชุมประจำปีของเฟดที่เมือง Jackson Hole ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากผลการเจรจาทางการค้าที่ไร้ข้อสรุประหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2561
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น โดยการฟื้นตัวของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า แนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้น อาจทำให้สหรัฐฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยลบในระหว่างสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด อาทิ ดัชนี PMI เดือนก.ค. และยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย. ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าได้ต่อเนื่องจนถึงช่วงท้ายๆ สัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทย ... อ่านต่อ
13 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือน เงินบาททยอยอ่อนค่าลง และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือนที่ 33.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ (อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค ที่ขยับขึ้น และการปรับลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์) ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)... อ่านต่อ
6 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.29 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคทยอยอ่อนค่าลง สอดคล้องกับแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง และการอ่อนค่าของเงินหยวน (แม้ธนาคารกลางจีนได้ออกมาส่งสัญญาณเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินก็ตาม) ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนของสหรัฐฯ เริ่มมีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 6 ก.ค. 2561 อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่ม... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนที่ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนการปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนในภาพรวม ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นที่ยืดเยื้อของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะในเรื่องมาตรการกีดกันการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันในระหว่างสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
15 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 เดือนที่ 32.46 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งหลังการประชุมเฟด ซึ่งมีสัญญาณสะท้อนแนวโน้มการคุมเข้มมากขึ้น โดยเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี (เทียบกับมุมมองเดิมที่สะท้อนการขึ้นดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในครึ่งปีหลัง) นอกจากนี้ การส่งสัญญาณยืนดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางยุโรป (แม้ยุติมาตรการ QE) ก็เป็นปัจจัยช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
8 มิถุนายน 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค สถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และแรงขายเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสที่ ECB จะยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณภายในปีนี้ อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับไปอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ มีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการประชุม G-7 ช่วงสุดสัปดาห์ และการประชุมเฟดในวันที่ 12-13 มิ.ย.นี้... อ่านต่อ
1 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงกว่าระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของหลายๆ สกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโร ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของอิตาลี อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถฟื้นตัวกลับมาบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังปัญหาทางการเมืองของอิตาลีเริ่มคลี่คลาย และตลาดเปลี่ยนจุดสนใจมาที่ข้อพิพาททางการค้าของสหรัฐฯ และกับประเทศคู่ค้า... อ่านต่อ
27 เมษายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนในระหว่างสัปดาห์ เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ขยับแข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเหนือระดับ 3.0% ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี) นอกจากนี้ ทิศทางที่อ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ