21 กุมภาพันธ์ 2566
สถาบันการเงิน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการศึกษาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนในบริบทของประเทศไทย พบข้อสรุปที่สอดคล้องกับการศึกษาของ BIS กล่าวคือ การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการบริโภคในระยะสั้น แต่จะลดศักยภาพการเติบโตของการบริโภคของครัวเรือนในระยะยาว ซึ่งหมายความว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อจีดีพีที่คงตัวอยู่ระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา กำลังกลายเป็นปัจจัยที่จำกัดการเติบโตของการบริโภคในภาพรวม... อ่านต่อ
FileSize KB
3 ตุลาคม 2565
แม้ยอดคงค้างเงินกู้ยืมของครัวเรือนจะขยับขึ้นสู่ระดับ 14.76 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2/2565 แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงตลอดในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา โดยเฉพาะการชะลอตัวในส่วนของหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้รถ ... อ่านต่อ
1 เมษายน 2565
ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในปี 2564 เติบโต 3.9% ใกล้เคียงกับ 4.0% ในปี 2563 แต่เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจที่ยังเติบโตช้า ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังคงขยับสูงขึ้นมาที่ระดับ 90.1% ในปี 2564 จากระดับ 89.7% ในปี 2563 อย่างไรก็ดี สัดส่วนหนี้ครัวเรือนดังกล่าวยังคงเป็นระดับสูง และเป็นหนึ่งในปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดดันการบริโภคของครัวเรือนและเศรษฐกิจในภาพรวม ... อ่านต่อ
30 ธันวาคม 2564
จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุด สะท้อนว่า แม้ครัวเรือนไทยจะยังคงก่อหนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็มีสัญญาณระมัดระวังมากขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ระดับ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นประมาณ 4.2% YoY เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เติบโต 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2564 นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับหนี้สินของครัวเรือนที่ขยับขึ้นในไตรมาส 3/2564 นั้นยังใกล้เคียงกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งภาพดังกล่าวส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในช่วงไตรมาส 3/2564 ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 89.3% เท่ากับในไตรมาสที่ 2/2564 ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
2 กรกฎาคม 2564
ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 1/2564 สะท้อนสถานการณ์หนี้สินของประชาชนที่ยังคงมีอัตราการเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวม โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปีตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563 โดยหนี้ครัวเรือนที่ขยับขึ้นในไตรมาส 1/2564 มาจากหนี้ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายชีวิตประจำวัน... อ่านต่อ
27 มกราคม 2564
จากฐานข้อมูลรายงานงบการเงินประจำไตรมาส 4/2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ยอดคงค้างสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของระบบธนาคารพาณิชย์น่าจะปิดสิ้นปี 2563 ที่ยอดรวมประมาณ 5.23 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3.16% ของสินเชื่อรวม สำหรับในปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า NPLs ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ กลับต้องมาเผชิญกับผลกระทบอีกครั้งจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในประเทศ แต่เนื่องจากการผ่อนปรนในเรื่องของเกณฑ์การจัดชั้นหนี้หากมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ รวมถึงการจัดการในเชิงรุกในการดูแลปัญหาหนี้เสียและการตัดหนี้สูญของระบบธพ. ทำให้คาดการณ์ในเบื้องต้นว่า สัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อรวมของระบบธพ. ในปี 2564 อาจจะทยอยขยับขึ้นไปที่ระดับประมาณ 3.53%... อ่านต่อ
30 ธันวาคม 2563
จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “หนี้ครัวเรือน” ล่าสุดในไตรมาส 3/2563 จากธปท. สะท้อนว่า หนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง และมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3/2563 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า มีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ในภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2563 โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย รวมถึงหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล... อ่านต่อ
7 กรกฎาคม 2563
ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประเด็นหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่แล้วมีความเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะในมิติของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 80.1% ในไตรมาส 1/2563 ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนว่า ภาคครัวเรือนกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม ... อ่านต่อ