Display mode (Doesn't show in master page preview)

7 กรกฎาคม 2563

สถาบันการเงิน

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่ม...ท่ามกลางโจทย์เฉพาะหน้าในการเยียวยาครัวเรือน ฝ่าวิกฤตโควิด-19 (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3874)

คะแนนเฉลี่ย
  • ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประเด็นหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่แล้วมีความเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะในมิติของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 80.1% ในไตรมาส 1/2563 ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนว่า ภาคครัวเรือนกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม 
  • สำหรับแนวโน้มในปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้หนี้ครัวเรือนของไทยมีแนวโน้มขยับขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 88-90% เมื่อเทียบกับจีดีพีในปี 2563 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการพักชำระหนี้ ส่งผลทำให้ระดับหนี้ไม่ลดลงมากตามภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในระดับสูงนี้เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศในแถบเอเชีย ไม่ได้เกิดเฉพาะกับประเทศไทย โดยภาพดังกล่าวสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง พร้อมๆ กับประเด็นที่ต่อเนื่องต่อคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อรายย่อยในระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสำหรับธนาคารพาณิชย์นั้น โจทย์เฉพาะหน้าที่ยากจะมีอยู่ 2 เรื่อง คือ การเร่งผลักดันมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคลให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปก่อน และการเร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยดูแลความสามารถในการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ ซึ่งในอีกด้านหนึ่งก็จะส่งผลดีต่อคุณภาพสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เองด้วยเช่นกัน  

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


สถาบันการเงิน