Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 กุมภาพันธ์ 2563

สถาบันการเงิน

ลดดอกเบี้ยกู้...ช่วยลูกค้าสู้ไวรัสโคโรนา ท้าทายผลประกอบการแบงก์ไตรมาส 1/63 (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3849)

คะแนนเฉลี่ย

​​            ​หลังจากที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 นำมาสู่การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ 1.00% อันเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นั้น ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ก็ได้นำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR และ MLR ตาม ทั้งนี้ ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงดังกล่าว คงมีผลช่วยเสริมทัพกับมาตรการผ่อนคลายทางการคลังต่างๆ ที่ทางการทยอยบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่อประชาชนและภาคส่วนธุรกิจต่างๆ ที่ถูกซ้ำเติมจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

            สำหรับผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์นั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลักษณะดังกล่าว ย้ำภาพที่สถานการณ์ผลประกอบการไตรมาส 1/2563 จะอยู่ภายใต้หลายแรงกดดัน ไม่ว่าจะเป็นการลดดอกเบี้ย การชะลอตัวของสินเชื่อ ปัญหาคุณภาพหนี้ และการช่วยเหลือลูกค้าที่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจในมิติต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ด้วยบทบาทการเป็นตัวกลางทางการเงินหลักของระบบเศรษฐกิจไทย จึงถือเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งผ่านนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของทางการ รวมถึงมีบทบาทในการช่วยเหลือลูกค้าในยามที่ประสบปัญหา เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถก้าวข้ามช่วงของภาวะที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน  ทั้งนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญความเสี่ยงเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ข้างต้น แต่ด้วยสถานะของระบบธนาคารพาณิชย์ที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อสำหรับหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL Coverage Ratio) ที่สูงกว่า 1.4 เท่าของหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมด อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูงถึง 19.2% ณ สิ้นปี 2562 รวมถึงสภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้มั่นใจว่าระบบการเงินไทยมีความสามารถที่จะรองรับความเสี่ยงต่างๆ ทั้งที่ปรากฏขึ้นแล้วและอาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


สถาบันการเงิน