Display mode (Doesn't show in master page preview)

5 สิงหาคม 2565

Econ Digest

การเงิน เพื่อความยั่งยืน ช่วยธุรกิจบรรลุเป้าการพัฒนาที่ยั่งยืน

คะแนนเฉลี่ย

​ปัจจุบันโลกกำลังให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยภาคการเงินเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่เป็นตัวกลางในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสาเหตุที่ทำให้การเงินเพื่อความยั่งยืนได้รับความนิยมอย่างมาก คือ การให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามองค์การสหประชาชาติหรือ Sustainable Development Goals (SDGs) และการมีส่วนร่วมในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่เริ่มเข้ามาเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการเงินมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยงานระหว่างประเทศ หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินในหลายประเทศ หันมาให้การสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงออกหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการลงทุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง


ทั้งนี้ การเงินเพื่อความยั่งยืนทั่วโลกมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ปี 2564 ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนซึ่งประกอบด้วย ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อสังคม (Social Bond) ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 929,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโต 10 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะมูลค่าสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในปี 2564 มีมูลค่า 716,561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโต 7 เท่าจากปี 2561


ขณะที่ประเทศไทย ณ ไตรมาส 2/2565 มีมูลค่าตราสารหนี้คงค้างรวมด้านความยั่งยืน 330,049 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็น Sustainability Bond ของรัฐบาล ลำดับถัดมาคือ Green Bond เพื่อใช้ในโครงการด้านพลังงาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ปี 2565 จะมีการออกตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน 76,000 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 12.1% ตามมุมมองเศรษฐกิจที่ขยายตัว อย่างไรก็ดี ในระยะ 2–3 ปีข้างหน้า แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จะส่งให้ผลให้การออกตราสารหนี้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ในระยะยาวการเงินเพื่อความยั่งยืนจะเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยเฉพาะการระดมทุนด้วยตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในโครงการด้านพลังงาน จากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และจากการสนับสนุนของหน่วยงานกำกับภาคการเงิน

Scan QR Code


QR Code

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น