Display mode (Doesn't show in master page preview)

19 กุมภาพันธ์ 2551

อุตสาหกรรม

พลาสติกชีวภาพ ตลาดโตตามกระแสโลกร้อน...บวกแรงหนุนกรีนโอลิมปิกในจีนปี 2551 (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2042)

คะแนนเฉลี่ย

จากปริมาณการใช้พลาสติกและโฟมทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญหาขยะส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งนี้ ไทยมีปริมาณขยะประเภทพลาสติกและโฟมสูงกว่าปีละ 2.3 ล้านตัน ซึ่งพลาสติกจากปิโตรเคมีเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานหลายร้อยปี และหากนำมาเผาทำลายจะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกจนนำไปสู่ภาวะโลกร้อน ซึ่งขณะนี้โลกกำลังเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากปริมาณการใช้พลาสติกที่คาดว่าจะสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทำให้มีการคิดค้นพลาสติกชีวภาพซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ง่าย รวมทั้งช่วยลดงบประมาณของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกได้อีกด้วย ขณะเดียวกันในโลกยุคใหม่ก็มีแนวโน้มการค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าแนวโน้มปริมาณความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพจะขยายตัวสูงขึ้นจากกระแสห่วงใยทั่วโลกเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน และแรงผนวกจากนโยบายการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ในจีนในเดือนสิงหาคม ปี 2551 ซึ่งกำหนดให้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งของที่ระลึกที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาต้องผลิตจากพลาสติกชีวภาพเพื่อประกาศเจตนารมณ์ตามนโยบาย Green Olympic

ปัญหาปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่น้ำมันปิโตรเลียมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ประกอบกับกระแสความตระหนักต่อการรักษาสภาพแวดล้อมมากขึ้น อีกทั้งความใส่ใจต่อความปลอดภัยในการบริโภคทำให้หลายประเทศต่างตื่นตัวหันมาผลิตคิดค้นและพัฒนาการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพมากขึ้น เนื่องจากพลาสติกชีวภาพมีข้อดีหลายอย่าง ทั้งการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และใช้วัตถุดิบจากมวลชีวภาพซึ่งได้มาจากพืชผลทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าว และอ้อย เป็นต้น ทำให้พลาสติกชีวภาพไม่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบจากน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งสถานการณ์ภาวะราคาน้ำมันนับวันจะยิ่งผันผวนและมีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพทั้งในระดับโลกและในส่วนของประเทศไทยด้วย

สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพถือเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค หากไทยสามารถดึงศักยภาพด้านวัตถุดิบมันสำปะหลังมาพัฒนาและแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลัง และต่อยอดการผลิตพลาสติกชีวภาพให้เกิดการพัฒนาเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าจากปัจจัยเอื้อหลายประการจะช่วยส่งผลให้แนวโน้มความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพจะขยายตัวต่อไปได้อย่างมีศักยภาพ ทั้งจากกระแสความใส่ใจต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของคนทั่วโลก ขณะเดียวกันพลาสติกชีวภาพนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขอนามัยในการบริโภค อีกทั้งไม่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบจากน้ำมันปิโตรเลียม ในขณะที่พลาสติกต้องใช้วัตถุดิบจากน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและใช้แล้วหมดไป และสถานการณ์ที่ผ่านมาราคาเม็ดพลาสติกที่ยังคงผันผวนและยังคงปรับราคาสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้พลาสติกชีวภาพได้รับอานิสงส์จากปัจจัยดังกล่าว

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม