Display mode (Doesn't show in master page preview)

21 มีนาคม 2551

เกษตรกรรม

เกษตรอินทรีย์ไทยโอกาสก้าวไกล...หากภาครัฐเร่งยกระดับมาตรฐานการผลิต (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2055)

คะแนนเฉลี่ย

จากปัญหาความกังวลใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับความเสี่ยงในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารตามแนวทางเกษตรกรรมรูปแบบเดิมที่พึ่งพิงการใช้สารเคมีค่อนข้างมาก ทำให้ผู้คนต่างหันมาสนใจแนวทางการบริโภคตามวิถีธรรมชาติบำบัดกันมากขึ้น เนื่องจากกระแสรักษ์สุขภาพ (Health Conscious) และความใส่ใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รวมทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดของประเทศผู้นำเข้าอาหาร ส่งผลให้เกิดระบบเกษตรกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์เป็นหลักภายใต้แนวทาง ;เกษตรอินทรีย์” ทำให้ที่ผ่านมาความต้องการบริโภคอาหารอินทรีย์ขยายตัวมากทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้เกษตรอินทรีย์เป็นตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่ม (Segmentation Market) ซึ่งผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความตระหนักในด้านสุขอนามัยและมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันเกษตรอินทรีย์ยังมีข้อจำกัดในการผลิตซึ่งยังไม่สามารถผลิตในลักษณะเกษตรกรรมขนาดใหญ่ได้ ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาสูง สำหรับตลาดเกษตรอินทรีย์เน้นส่งออกเป็นหลัก ส่วนตลาดในประเทศผู้บริโภคเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงเช่นกัน ขณะที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทยยังคงเผชิญอุปสรรคสำคัญโดยเฉพาะปัญหาการรับรองมาตรฐานการผลิตตามหลักเกษตรอินทรีย์ให้เป็นที่เชื่อถือในระดับสากล แต่หากภาครัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างลุล่วง จะเป็นโอกาสดีของไทยในการขยายตลาดสินค้าอาหารอินทรีย์ไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนให้ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก (Kitchen of The World) และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทยต่อไป สินค้าอาหารอินทรีย์ที่ไทยมีโอกาสขยายตลาดสูง ได้แก่ ข้าวอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ประมงโดยเฉพาะกุ้งอินทรีย์ ผักและผลไม้อินทรีย์ เครื่องเทศและสมุนไพรอินทรีย์ ชาและกาแฟอินทรีย์ เป็นต้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม