Display mode (Doesn't show in master page preview)

8 พฤษภาคม 2551

อุตสาหกรรม

ขึ้นราคาน้ำตาล 5 บาท/กิโลกรัม : ผลกระทบต่อผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2157)

คะแนนเฉลี่ย

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 อนุมัติแผนช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาอ้อยที่ตกต่ำในฤดูการผลิตปี 2550/51 โดยให้มีการปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลอีกกิโลกรัมละ 5 บาท(เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7 ก็จะตกกิโลกรัมละ 5.35 บาท) ทั้งนี้รายได้จากการเพิ่มราคาน้ำตาลซึ่งตกประมาณ 10,000 ล้านบาท/ปี[1] จะถูกนำเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อทยอยนำไปใช้ชำระหนี้เงินกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรซึ่งมีหนี้เดิมประมาณ 12,462.42 ล้านบาทและหนี้ใหม่ที่กองทุนฯจะกู้เพิ่มเติมอีกประมาณ 12,370.8 ล้านบาทเพื่อนำมาเพิ่มราคาอ้อยอีกตันละ 169 บาท รวมเป็นราคาอ้อยที่เกษตรกรได้รับ 807 บาทต่อตัน ในขณะเดียวกัน ผลจากการปรับราคาจำหน่ายน้ำตาลดังกล่าว จะช่วยให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมีความมั่นคงทางด้านรายได้ซึ่งจะนำมาใช้รักษาเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในช่วงที่ราคาตกต่ำปีต่อๆไป อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นราคาน้ำตาลดังกล่าวส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายของภาคประชาชนเพิ่มขึ้นประมาณ 105 บาทต่อปี สำหรับในกรณีของผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบมากน้อยแตกต่างกันขึ้นกับปริมาณการใช้น้ำตาล ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาก คือการผลิตขนม เครื่องดื่มและน้ำอัดลม และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งมีต้นทุนน้ำตาลเทียบกับต้นทุนดำเนินการทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.7 ร้อยละ 12.5 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ



[1] ปริมาณน้ำตาลที่จำหน่ายในประเทศ 2 ล้านตัน x ราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น 5 บาท/กิโลกรัม

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม