Display mode (Doesn't show in master page preview)

15 พฤษภาคม 2551

อุตสาหกรรม

ความท้าทายของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย: ปัญหาที่รอการแก้ไข (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2071)

คะแนนเฉลี่ย

ในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ปี 2550 โดยเติบโตในอัตราร้อยละ 13.8 ต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกรวมที่ขยายตัวได้ร้อยละ 17.5 และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 สถานการณ์การส่งออกที่มีการชะลอตัวลงเกิดขึ้นจากปัจจัยการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทยังทำให้รายรับของภาคธุรกิจลดลง ทั้งนี้การชะลอตัวลงของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสแรก เป็นที่สังเกตว่า สินค้าที่ค่อนข้างมีปัญหาคือ สินค้าหมวดวงจรไฟฟ้า ปัจจัยที่จะมีผลต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงที่เหลือของปี 2551 ที่สำคัญได้แก่ การขยายตัวของตลาดเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์โลกและปัจจัยเรื่องค่าเงินบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์การขยายตัวของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2551 ว่าจะสามารถขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 10-12 หรือคิดเป็นมูลค่า 52,000-53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แม้ว่าในระยะสั้นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลายรายการยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในระยะยาวการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังต้องเผชิญความท้าทายในการรักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยอาจสรุปได้เป็นประเด็นดังนี้ (1) บทบาทและการพัฒนาของบริษัทของคนไทยมีจำกัด (2) การขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (3) ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของการผลิตและการส่งออกในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภท (4) การถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง (5) การแข่งขันในตลาดภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และ (6) ความเสี่ยงที่เกิดจากการขยายหรือโยกย้ายการลงทุนของบริษัทต่างชาติในประเทศอื่นซึ่งจะกระทบต่อการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมภายในประเทศ

สำหรับประเทศไทยที่ต้องการจะเป็นฮับการผลิตของภูมิภาค และยกระดับอุตสาหกรรม การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศไปพร้อมๆกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในประเทศและอุตสาหกรรมสนับสนุนเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้ (1) ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (2) ขยายฐานผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาในประเทศไทยได้แก่ การผลิตระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) ไฟฟ้าพลังงาน (โซลาร์เซลล์) และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ (3) การสร้างความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำและอุตสาหกรรมสนับสนุน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม