Display mode (Doesn't show in master page preview)

3 พฤศจิกายน 2551

เกษตรกรรม

ส่งออกสินค้าเกษตรสู่ตลาดใหม่ : ความท้าทาย...โอกาสและปัญหา (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2340)

คะแนนเฉลี่ย
วิกฤติในภาคการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2552 ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทย โดยจะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเช่นกัน บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2552 เป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลกระทบทางเศรษฐกิจ ดังนี้
กรณีแรก เป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบไม่มากนักนั้นเป็นการประเมินว่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีอัตราชะลอตัวลง และคาดหวังว่ามาตรการต่างๆของแต่ละประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะวิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ และพยุงภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ซบเซามากนัก โดยคาดว่าในปี 2552 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 35,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9
กรณีที่สอง เป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบมาก โดยวิกฤติทางการเงินในครั้งนี้ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย และยังมีผลกระทบในวงกว้างทำให้เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยตามไปด้วย โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย ทำให้คาดว่าในปี 2552 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.7 คิดเป็นมูลค่า 33,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้น ในปี 2552 รัฐบาลและภาคเอกชนไทยต้องเร่งปรับกลยุทธ์การตลาด มุ่งเน้นผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังตลาดใหม่ๆ เพื่อลดการพึ่งพิงการส่งออกไปยังตลาดหลัก แม้ว่า บรรดาผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรพยายามเจาะขยายตลาดใหม่ และสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ท่ามกลางปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลกนี้ การเจาะขยายตลาดใหม่เพิ่มขึ้นยังคงมีความจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อพยุงไม่ให้ยอดการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2552 ชะลออัตราการขยายตัวลงไปมากนัก เนื่องจาก ประเทศที่เป็นตลาดใหม่นั้นยังมีโอกาสและมีความท้าทายสำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยอยู่

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม