Display mode (Doesn't show in master page preview)

13 มีนาคม 2552

เกษตรกรรม

ไก่แปรรูปปี’52 : ประเทศคู่ค้าชะลอการนำเข้า (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2453)

คะแนนเฉลี่ย

ในปี 2552 สถานการณ์อุตสาหกรรมไก่เนื้อพลิกกลับจากที่เคยเป็น ;ปีทอง” ในปี 2551 ที่ผู้เกี่ยวข้องกับวงการไก่เนื้อ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตลูกไก่เนื้อ ผู้เลี้ยงไก่จำหน่ายในประเทศ และผู้ส่งออกต่างได้รับกำไรอย่างถ้วนหน้า แม้ว่าในปี 2551 ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์จะอยู่ในเกณฑ์สูงก็ตาม กล่าวคือ ผู้ผลิตลูกไก่เนื้อขายได้ตัวละ 16-16.50 บาท ผู้เลี้ยงไก่ขายไก่มีชีวิตจำหน่ายในประเทศราคาตัวละ 36-37 บาท และผู้ส่งออกขายเนื้อไก่ได้ราคาเฉลี่ยสูงกิโลกรัมละ 135 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาไก่เนื้อทุกระดับตลาดที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปลายปี 2551 ไก่มีชีวิตมีราคาตกต่ำลงมาเหลือตัวละ 27-28 บาท ต่ำกว่าต้นทุนการเลี้ยงที่ตัวละ 30 บาท ลูกไก่เหลือตัวละ 4-5 บาท จากต้นทุนการเลี้ยงตัวละ 9 บาท

เนื่องจากปีที่ผ่านมาราคาดี ผู้เลี้ยงจึงขยายการเลี้ยงไก่กันมากขึ้น ปัจจุบันปริมาณการผลิตลูกไก่เนื้อป้อนตลาดมีมากถึง 19.5 ล้านตัวต่อสัปดาห์ จากที่ควรจะอยู่ในระดับ 17.5 ล้านตัวต่อสัปดาห์ แต่ตลาดส่งออกในเดือนมกราคม 2552 กลับมีแนวโน้มหดตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 12.9 จากที่ในเดือนมกราคม 2551 มูลค่าการส่งออกเคยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 96.7 ส่วนการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม 2552 ก็ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 61.2 จากที่เคยมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกสูงถึงร้อยละ 74.2 ในช่วงเดือนมกราคม 2551

ดังนั้น ในปีนี้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไก่เนื้อต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการปรับลดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ เพื่อประคองตัวให้อยู่รอดในช่วงที่ราคาส่งออกเนื้อไก่อยู่ในช่วงขาลง นอกจากนี้ ยังทำให้ผลิตภัณฑ์ไก่ซึ่งเคยเป็นความหวังว่าจะเป็นหนึ่งในสินค้าอาหารแปรรูปที่จะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2551 นั้นน้อยลงไป เนื่องจากคาดการณ์ว่าทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกในปี 2552 จะมีแนวโน้มลดลงเหลือ 360 พันตัน มูลค่า 45,400 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2551 แล้วลดลงร้อยละ 6.0 และ 12.0 ตามลำดับ

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม