Display mode (Doesn't show in master page preview)

9 เมษายน 2552

การค้า

ประชุมผู้นำอาเซียน+3 และอาเซียน+6 : รับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย ยึดแนวทางเปิดเสรี & ลดมาตรการกีดกันทางการค้า (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2152)

คะแนนเฉลี่ย

หากการประชุมผู้นำระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาในกรอบอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) และอาเซียน+6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 10-12 เมษายน 2552 นี้ ที่พัทยา สามารถกระตุ้นให้กลุ่มประเทศอาเซียน+3 และอาเซียน+6 รวมกลุ่มทางการค้าได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนการขยายการค้าระหว่างกัน ร่วมมือกันลดอุปสรรคทางการค้า และหลีกเลี่ยงการนำมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่ๆ ออกมาใช้ ประกอบกับนโยบายด้านการเงินและการคลังของประเทศต่างๆ ที่นำออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเอเชียตะวันออกและอาเซียนต้านทานผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ และสามารถพยุงเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2553

การพัฒนาความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนของกลุ่มอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะขยายไปสู่การจัดทำความตกลง FTA ในกรอบอาเซียน+3 และอาเซียน+6 คงต้องใช้ระยะเวลากว่าจะได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีการค้า ภาคบริการและการลงทุนของอาเซียนโดยการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และการเปิดเสรีการค้าในกรอบอาเซียน+1 ที่มีความคืบหน้าค่อนข้างมากในปัจจุบัน จะช่วยให้ผู้ส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านภาษีและการสะสมแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : ROOs)

ทำให้คาดว่าน่าจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยไปประเทศคู่เจรจาต่างๆ ขยายตัวได้ดีขึ้น เช่น ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น แต่สำหรับมาตรการทางการค้าอื่นๆ เช่น โควตาภาษี การอุดหนุนทางการค้า และการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อกีดกันทางการค้า อาจต้องใช้เวลาในการเจรจาและประสานความร่วมมืออีกระยะหนึ่ง ส่วนมาตรการด้านสุขอนามัยและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมนั้น คาดว่าจะถูกนำมาใช้มากขึ้น โดยมีระดับความเข้มงวดและครอบคลุมสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นการยกระดับคุณภาพสินค้าไทยให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้นจะช่วยลดโอกาสที่จะถูกกีดกันการนำเข้าจากตลาดส่งออก

นอกจากนี้ การเจรจาจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกันด้านมาตรฐานสินค้า (Mutual Recognition Agreements : MRAs) ภายใต้ความตกลง FTA น่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการกำหนดมาตรฐานสินค้าในระดับสูงของประเทศคู่เจรจาได้บ้าง โดยเฉพาะมาตรฐานด้านสุขอนามัยพืขและสัตว์สำหรับสินค้าอาหาร

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า