Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 มิถุนายน 2552

อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมอาหารครึ่งหลังปี 2552 : เริ่มกระเตื้องขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2166)

คะแนนเฉลี่ย

ในปี 2552 นับว่าเป็นปีแรกในรอบ 7 ปี หรือตั้งแต่ปี 2545 ที่ทั้งปริมาณการผลิต การจำหน่าย มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าสินค้าอาหารมีแนวโน้มหดตัว ทั้งนี้เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ แม้ว่าผลกระทบต่อสินค้าอาหารจะไม่รุนแรงเท่ากับสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 สถานการณ์ด้านการส่งออกสินค้าอาหารน่าที่จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นตามการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสินค้าอาหารที่สำคัญของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารทั้งปี 2552 คาดว่าจะอยู่ในระดับ 744,000 ล้านบาท โดยหดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับปี 2551

การหดตัวของอุตสาหกรรมอาหารทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก นับว่าเป็นสัญญาณเตือนให้ทั้งภาครัฐบาลและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมตระหนักได้ว่าการปรับตัวท่ามกลางความท้าทายของหลากหลายปัญหาที่รุมเร้า

อุตสาหกรรมอาหารของไทยในอนาคตวางเป้าหมายเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าอาหารที่สำคัญของโลก โดยปรับจากการส่งออกในรูปของสินค้าไปสู่การส่งออกสินค้าที่มีแบรนด์ของตนเอง และสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสินค้าอาหารสามารถยกระดับการพัฒนาตามแนวนโยบายนี้ โดยการแยกมิติออกเป็น มิติด้านผลิตภัณฑ์ที่จะต้องสร้างแบรนด์สินค้าอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้บริโภคในต่างประเทศ และการยกระดับมาตรฐานในการผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนมิติในด้านการแข่งขันนั้น ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนจากการผลิตตามคำสั่งซื้อ มาเป็นผู้ผลิตที่เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละตลาด และผลิตสินค้าอาหารตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละตลาด รวมทั้งต้องเปลี่ยนการตั้งเป้าหมายในการแข่งขันไปเป็นการแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย โดยจะทำให้บรรดาผู้ประกอบการตระหนักว่าต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งเป็นแนวทางที่ควรจะเป็นมากกว่าการคิดว่าคู่แข่งขันคือประเทศในเอเชีย หรืออเมริกาใต้ เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในด้านการยกระดับผลิตภัณฑ์และการแข่งขัน ก็จะทำให้การกำหนดแนวทางในการปรับเปลี่ยนตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม