Display mode (Doesn't show in master page preview)

17 กันยายน 2552

การค้า

การส่งออกเดือนสิงหาคม ... สัญญาณฟื้นตัวยังไม่ชัดเจน (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2635)

คะแนนเฉลี่ย

ากการวิเคราะห์ข้อมูลการส่งออกของไทยล่าสุด ที่รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ พบว่า แม้การส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคม 2552 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาที่ 13,281 ล้านดอลลาร์ฯ จาก 12,908 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) มีอัตราการหดตัวชะลอลงมาที่ร้อยละ 18.4 จากร้อยละ 25.7 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกที่ขจัดผลของฤดูกาลออกไป (Seasonally Adjusted) พบว่า การขยายตัวของการส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (Month-on-Month) มีทิศทางชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 3 ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

แต่ในเดือนสิงหาคมขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 ยิ่งไปกว่านั้นมูลค่าการส่งออกที่ค่อนข้างดีในเดือนนี้ยังเป็นผลของการส่งออกทองคำที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1,451 โดยหากมองเฉพาะการส่งออกที่ไม่รวมทองคำ พบว่าหดตัวลงร้อยละ 20.2 (YoY) จากที่หดตัวร้อยละ 24.5 ในเดือนก่อนหน้า และมูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำที่ขจัดผลของฤดูกาล กลับลดลงจากเดือนก่อนหน้า (MoM, S.A.) สะท้อนทิศทางการขยายตัวที่ไม่ต่อเนื่อง และบ่งบอกนัยว่าการฟื้นตัวของการส่งออกของไทยอาจไม่รวดเร็วอย่างที่คาดหวังกันไว้ แม้มีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้น โดยผลของฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในปีก่อนหน้า อาจส่งผลให้การขยายตัวของการส่งออกกลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาสสุดท้ายก็ตาม

สินค้าที่มีการปรับตัวดีขึ้นในเดือนนี้ ยังคงเป็นกลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เหล็ก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งสินค้าส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการนำเข้าของจีนที่กลับมาเร่งตัวขึ้น โดยการส่งออกไปยังตลาดจีนพลิกกับมาเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน โดยขยายตัวร้อยละ 1.2 (YoY) อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังตลาดกลุ่มประเทศ G-3 คือสหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่นหดตัวสูงขึ้น

โดยรวมแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในปี 2552 อาจจะหดตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 14.5-17.5 ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 15.5 ในปี 2551 แนวโน้มการส่งออกในระยะข้างหน้าต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะเมื่อผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการประเทศต่างๆ เริ่มทยอยหมดลง นอกจากนี้ ประเด็นที่ต้องจับตาที่อาจจะมีผลต่อการส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท สถานการณ์ในด้านสภาพคล่องของผู้ประกอบการส่งออก รวมทั้งภาวะตลาดแรงงาน ที่บางอุตสาหกรรมที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น แต่กลับมีปัญหารับแรงงานกลับเข้ามาได้ไม่ทัน

ขณะเดียวกันยังต้องติดตามการใช้มาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้า ดังตัวอย่างกรณีการใช้มาตรการทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยอาจเป็นชนวนนำไปสู่การตอบโต้กันการค้า ซึ่งอาจจะทำลายบรรยากาศทางการค้า และบั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า