Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 ตุลาคม 2552

เกษตรกรรม

ตลาดข้าวแอฟริกา : โอกาสขยายการส่งออกข้าว...อานิสงส์อินเดียงดส่งออก(มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2652)

คะแนนเฉลี่ย

แม้ว่าการส่งออกข้าวในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 เผชิญกับภาวะยากลำบาก มาก ทำให้มูลค่าการส่งออกหดตัวลงเหลือ 3,281.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วหดตัวร้อยละ 29.5 เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจากเวียดนาม ซึ่งเวียดนามสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวจากไทยไปได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดข้าวขาว อันเป็นผลมาจากราคาข้าวของเวียดนามต่ำกว่าไทยเฉลี่ยตันละ 130-140 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการส่งออกข้าวนึ่งก็มีแนวโน้มหดตัวเช่นกัน โดยประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกาต่างรอข้าวนึ่งของอินเดียที่ราคาถูกกว่าข้าวนึ่งไทยประมาณ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่อินเดียประกาศงดส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบัสมาติต่อไปในเดือนกันยายน 2552 ทำให้ประเทศผู้นำเข้าในแถบแอฟริกาต่างหันมานำเข้าข้าวนึ่งจากไทย นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าการเปลี่ยนมาตรการแทรกแซงตลาดของรัฐบาลจากมาตรการรับจำนำมาเป็นมาตรการประกันราคา ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกของไทยจะสามารถแข่งขันกับเวียดนามได้ดีขึ้น ดังนั้น การส่งออกข้าวของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2552 ต่อเนื่องถึงกลางปี 2553 น่าจะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น โดยข้าวนึ่งจะมีเป็นพระเอกในการส่งออกแทนข้าวขาว รวมทั้ง คาดการณ์ว่าไทยมีโอกาสขยายตลาดส่งออกข้าวเหนียวไปยังตลาดจีนเพิ่มขึ้น

การส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดในทวีปแอฟริกามีโอกาสขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะการขยายตลาดข้าวนึ่งเข้าไปแทนที่อินเดียที่ประกาศงดส่งออกข้าวขาว(ข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ) โดยเฉพาะในช่วงที่เหลือของปี 2552 ไปจนถึงกลางปีหน้า อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องกังวลคือ การแข่งขันจากเวียดนาม ถ้าเวียดนามหันมาเจาะขยายตลาดทวีปแอฟริกาเช่นกัน

นอกจากนี้ การที่ปริมาณการผลิตข้าวของอินเดียลดลงมากเป็นประวัติการณ์นั้น ส่งผลให้ข้าวบัสมาติที่อินเดียยังส่งออกนั้นมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูง จึงเป็นโอกาสของการส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยไปยังตลาดในแอฟริกาที่เคยนำเข้าข้าวบัสมาติจากอินเดีย ส่วนการส่งออกปลายข้าวไปยังแอฟริกาก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ส่งออกข้าวของไทยยังมีโอกาสในการขยายการส่งออกปลายข้าว ซึ่งตลาดปลายข้าวนี้ ไทยไม่ต้องเผชิญการแข่งขันกับเวียดนาม เนื่องจากในแต่ละปีเวียดนามส่งออกปลายข้าวน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาแล้วจะเห็นได้ว่าผู้ส่งออกข้าวของไทยยังมีโอกาสในการเจาะขยายตลาดข้าวได้อีกมาก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ส่งออกข้าวต้องเข้าไปศึกษาพฤติกรรมและรสนิยมการบริโภคข้าวของแต่ละประเทศ ซึ่งจะทำให้โอกาสในการประสบความสำเร็จในการเจาะขยายตลาดเพิ่มขึ้น โดยในปี 2553 จีนมีการจัดงานเซี่ยงไฮ้เอ็กซ์โปในเดือนพฤษภาคม และงานเอเซียนเกมส์ในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งรัฐบาลจีนประกาศให้ปี 2553 เป็นปีท่องเที่ยวจีน
นอกจากนี้ ปัจจัยที่ยังต้องกังวลในการขยายตลาดข้าวนึ่ง คือ โรงสีข้าวของไทยต่างเร่งขยายกำลังการผลิตข้าวนึ่ง ทำให้เกรงว่าในอนาคตจะเกิดปัญหาข้าวนึ่งล้นตลาด ถ้าในช่วงกลางปี 2553 อินเดียกลับมาส่งออกข้าวนึ่งได้อีกครั้ง รวมทั้ง เวียดนามและจีนเริ่มหันมาขยายการผลิตข้าวนึ่งเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตข้าวนึ่งทั้งหมดนั้นพึ่งพิงตลาดส่งออก และการขยายตลาดข้าวนึ่งคุณภาพดีเพื่อการส่งออกไปยังตลาดยุโรปนั้นก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนข้าวหอมมะลินั้น ยังต้องติดตามข้าวพันธุ์ใหม่ของสหรัฐฯคือ แจสแมน(JAZZMAN) ที่คิดค้นมาเพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย แม้ว่าข้าวแจสแมนของสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการค้นคว้าและวิจัย ผลผลิตยังมีน้อยและยังไม่ออกสู่ตลาด แต่สิ่งที่ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยต้องติดตามลักษณะของเมล็ด กลิ่น คุณภาพความเนียมนุ่มหลังหุงเสร็จว่าใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิของไทยหรือไม่ รวมถึงราคาจัดจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์การแข่งขันของข้าวหอมมะลิของไทยในอนาคต เนื่องจากปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่อยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้มีแนวโน้มเป็นไปได้ว่าราคาจำหน่ายจะต่ำกว่าข้าวหอมมะลิของไทย ซึ่งจะส่งผลในการแข่งขันในตลาดข้าวหอมในอนาคต

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม