Display mode (Doesn't show in master page preview)

16 กุมภาพันธ์ 2553

การค้า

ส่งออกไทยไปอินโดนีเซียปี 53 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ... อานิสงส์ AFTA และการขยายตัวสูงขึ้นของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2762)

คะแนนเฉลี่ย

ปี 2553 ถือเป็นปีแห่งการเปิดเสรีการค้าที่สำคัญของอาเซียนในหลายกรอบการค้า ได้แก่ FTA กรอบอาเซียน(AFTA) และอาเซียน-จีน ที่มีกำหนดลดภาษีสินค้าปกติเป็นร้อยละ 0 วันที่ 1 มกราคม 2553 ส่วน FTAอาเซียน-อินเดีย FTAอาเซียน-เกาหลีใต้ และFTAอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์เริ่มต้นลดภาษีในปีนี้ ซึ่งการค้าเสรีในกรอบอาเซียน(AFTA) เป็นประเด็นที่น่าจับตาสำหรับประเทศอินโดนีเซียที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและเนื่องจากไทยและอินโดนีเซียอยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน ต่างเป็นคู่ค้าที่สำคัญมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและวัตถุดิบผลิตเพื่อขายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศที่มีข้อตกลงทางการค้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ปี 2553 เป็นโอกาสขยายตลาดสินค้าไทยในอาเซียนซึ่งได้อานิสงส์จากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบ AFTA ที่ลดภาษีสินค้าปกติ(Normal Track)ระหว่างกันเหลือร้อยละ 0 โดยการส่งออกสินค้าจากไทยไปอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในอาเซียนที่สำคัญยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างโดนเด่นในภูมิภาคอาเซียนและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ทำให้คาดว่าความต้องการบริโภคสินค้าของอินโดนีเซียจะมากขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งสินค้าส่งออกของไทยทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและวัตถุดิบสินค้าขั้นกลางเพื่อการผลิตที่น่าจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีกรอบ AFTA ค่อนข้างมาก ได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือน สินค้าอาหาร เคมีภัณฑ์และพลาสติก เป็นต้น

แม้ว่าผลดีจากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่คาดว่าจะผลักดันให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับความตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน(AFTA)ที่ช่วยสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งถือเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจอินโดนีเซียที่เติบโตต่อเนื่องประกอบกับระดับราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นทำให้คาดว่าทางการอินโดนีเซียอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบซึ่งอาจส่งผลต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจและกดดันการบริโภคในประเทศให้ชะลอตัวไปบ้างแต่ก็คาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียในปีนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากปี 2552 จึงน่าจะช่วยการส่งออกของไทยไปอินโดนีเซียในปีนี้กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า