Display mode (Doesn't show in master page preview)

23 กรกฎาคม 2553

การค้า

การส่งออกจากไทยไปออสเตรเลียครึ่งปีแรกยังเติบโตระดับสูงร้อยละ 41.5 แต่แนวโน้มครึ่งหลังอาจเผชิญปัจจัยเสี่ยง (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2886)

คะแนนเฉลี่ย

การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายระลอกล่าสุดของออสเตรเลียในเดือนตุลาคม 2552 ถึงพฤษภาคม 2553 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Sentiment) และอัตราการเติบโตของมูลค่าการหมุนเวียนการค้าปลีก (Growth of Retail Turnover) ของออสเตรเลีย มีทิศทางชะลอลงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจออสเตรเลียยังเติบโตต่อไปได้ด้วยแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกแร่ธาตุ โดยเฉพาะความต้องการของตลาดจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยอัตราการว่างงานในออสเตรเลียลดลงติดต่อกันตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน 2553 อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน ภาคแรงงานที่ยังเติบโตต่อไปได้ น่าจะมีส่วนช่วยพยุงภาวะการบริโภคในออสเตรเลียไม่ให้ลดลงมากในเดือนต่อๆ ไป โดยในปีนี้คาดว่า GDP ของออสเตรเลียยังมีแนวโน้มเติบโตได้ราวร้อยละ 3 ตามการคาดการณ์ของ IMF สูงขึ้นจากที่เติบโตร้อยละ 1.3 ในปี 2552

การส่งออกของไทยไปออสเตรเลียยังคงเติบโตได้ในช่วงที่ผ่านมา แม้ในช่วงเวลาที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของออสเตรเลีย โดยมูลค่าการส่งออกจากไทยไปออสเตรเลียในครึ่งปีแรกของปีนี้ มีมูลค่า 5.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตขึ้นร้อยละ 41.53 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และหากนับรวมตั้งแต่เดือนตุลาคมถึง 2552 ถึงมิถุนายน 2553 เป็นช่วง 8 เดือนที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในออสเตรเลียระลอกล่าสุด การส่งออกจากไทยไปออสเตรเลียมีมูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.84 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกของไทยในครึ่งปีหลังน่าจะได้แรงสนับสนุนจากอุตสาหกรรมแร่ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญจากความต้องการเหล็กและถ่านหินจากอินเดียและจีนที่ยังขยายตัวได้ แม้คาดว่าอาจชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลังตามมาตรการควบคุมความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและภาวะฟองสบู่ของจีน และนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของอินเดียเพื่อต้านทานเงินเฟ้อ นอกจากนี้ยังได้ปัจจัยบวกจากร่างกฎหมายภาษีกำไรกิจการแร่ฉบับใหม่ซึ่งจัดเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าร่างฉบับเก่า ส่งผลให้ธุรกิจเหมืองแร่ในออสเตรเลียได้รับอานิสงส์จากร่างกฎหมายฉบับนี้ ทำให้ยังมีแนวโน้มว่ากิจการเหมืองแร่จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยสร้างงานในออสเตรเลียต่อไป ซึ่งน่าจะช่วยผลักดันการบริโภคและเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียในไตรมาสแรกของปีนี้ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9 อยู่ใกล้กรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 2 - 3 เป็นปัจจัยที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งใหม่ในเดือนสิงหาคมหรือในเดือนต่อๆ ไป และอาจส่งผลกระทบต้นทุนการลงทุนและการบริโภคได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออกของไทยไปยังออสเตรเลียในที่สุด ประกอบกับแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียจากภาคส่งออกของออสเตรเลียที่อาจอ่อนแรงลงตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าจากไทยอาจชะลอลงตามไปด้วย

ทั้งนี้สินค้าส่งออกหลักจากไทยไปออสเตรเลียใน 6 เดือนแรกของปีนี้ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (โครงเหล็กสำหรับก่อสร้าง) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า