Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 กรกฎาคม 2553

เกษตรกรรม

ยางพาราและผลิตภัณฑ์ : กรอบ FTA ผลักดันส่งออกพุ่ง...นำเข้าเพิ่ม (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2892)

คะแนนเฉลี่ย

ในปี 2553 เป็นปีที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราและผลิตภัณฑ์พลิกฟื้นจากภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2552 โดยเฉพาะการฟื้นตัวของยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีน และตามมาด้วยการฟื้นตัวของประเทศต่างๆ ทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่งผลให้ความต้องการยางพาราและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจัยหนุนประการสำคัญที่ช่วยพยุงอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ของไทย โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังปี 2552 คือ การที่จีนลดภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางตามกรอบข้อตกลง FTA อาเซียนจีนก่อนที่จะถึงกำหนดในปี 2553 ทำให้ในช่วงครึ่งหลังปี 2552 ผู้ส่งออกของไทยมีการปรับตัวโดยการหันไปผลิตยางคอมปาวน์ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ยาง แทนการผลิตยางแท่ง ซึ่งถือว่าเป็นยางแปรรูปขั้นต้น โดยอานิสงส์นี้ยังคงเป็นปัจจัยหนุนต่อเนื่องในปี 2553 ด้วย ในขณะที่กรอบข้อตกลง FTA อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงอาฟตา อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลีใต้ อาเซียน-ออสเตรเลีย และอาเซียน-นิวซีแลนด์ ช่วยผลักดันการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ให้ขยายตัวด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลของกรอบFTA นอกจากจะช่วยผลักดันการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์แล้ว ยังส่งผลให้การนำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ของไทยในปี 2553 เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งประเด็นที่ต้องกังวล คือ การเข้ามาแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในประเทศของผลิตภัณฑ์ยาง โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้นและปิดผนัง ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ ท่อ ข้อต่อ และสายพานที่ทำด้วยาง ในขณะที่ยางรถยนต์(โดยเฉพาะยางเรเดียลใช้กับรถบัส และรถบรรทุก และยางรถจักรยานยนต์) ไทยจะลดภาษีเป็นร้อยละ 5 ในปี 2561 ปัจจุบันอัตราภาษีอยู่ในระดับร้อยละ 20-30 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของยางรถยนต์

สำหรับประเด็นที่จะต้องติดตามต่อไปคือ การทยอยลดภาษีในกรอบ FTA ต่างๆ รวมทั้งการเตรียมรับมือกับการย้ายฐานการลงทุนทั้งการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ และนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม