Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 มีนาคม 2554

เกษตรกรรม

ส่งออกข้าวไปญี่ปุ่นปี’54 ... ต้องประมูลแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดกับสหรัฐฯและจีน (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3063)

คะแนนเฉลี่ย

เหตุการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่นส่งผลกับแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ซึ่งปริมาณการผลิตข้าวจากแหล่งนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณการผลิตข้าวทั้งหมด แต่ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติจะเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ทำให้ญี่ปุ่นยังมีสต็อกข้าวเพียงพอ และการที่ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง จากการที่ผลผลิตข้าวของประเทศผู้ผลิตข้าวหลัก ทั้งไทยและเวียดนามทยอยออกสู่ตลาด ทำให้บรรดาประเทศผู้นำเข้าข้าวคลายความกังวลต่อปัญหาที่คาดว่าข้าวจะขาดแคลน จึงไม่เร่งนำเข้าข้าวเพื่อเก็บเข้าสต็อก ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงยังคงเปิดประมูลนำเข้าข้าวตามปกติ ในช่วงเดือนมิถุนายน สำหรับการนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภค และเดือนพฤษภาคม สำหรับการนำเข้าข้าวเพื่ออุตสาหกรรม

การนำเข้าข้าวของญี่ปุ่นในปี 2554 คาดการณ์ว่าไทยจะต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากทั้งสหรัฐฯและจีน ที่กลับเข้ามาแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวญี่ปุ่นอีกครั้ง ส่งผลให้การขยายตัวของข้าวไทยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.6 เป็นปริมาณ 303,000 ตัน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากภัยพิบัติต่อพื้นที่ปลูกข้าวนั้น คาดว่าญี่ปุ่นต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ปีเพื่อปรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติให้กลับมาปลูกข้าวได้อีกครั้ง ซึ่งคาดว่าในช่วงนี้ปริมาณข้าวของญี่ปุ่นจะหายไป 1.5-1.6 ล้านตัน/ปี ดังนั้น ญี่ปุ่นจะต้องเพิ่มเพดานปริมาณการนำเข้าข้าวเพื่อให้มีปริมาณข้าวเพียงพอบริโภคในประเทศ ถ้าญี่ปุ่นตัดสินใจเพิ่มเพดานนำเข้าข้าวในช่วงปลายปี 2554 อาจจะส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าข้าวจากไทยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ถ้าญี่ปุ่นเพิ่มเพดานการนำเข้าในปีถัดไป เนื่องจากยังมีปริมาณสต็อกข้าวและรอดูผลผลิตในปีถัดไปเพื่อประกอบการตัดสินใจ ก็จะส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าข้าวจากไทยอาจจะเพิ่มขึ้นในปีถัดไป อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกข้าวไทยก็ยังคงต้องแย่งชิงตลาดข้าวในญี่ปุ่นกับสหรัฐฯและจีน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม