Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 กรกฎาคม 2555

อุตสาหกรรม

[AEC Plus] ปี 55 บริโภคและส่งออกเหล็กไทยไปอาเซียนเติบโต...สวนทางตลาดเหล็กโลก (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3315)

คะแนนเฉลี่ย

ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยขณะนี้ มีการตื่นตัว เห็นจากผู้ผลิตเหล็กในไทยต่างเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับอุปสงค์ที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในปี 2555 อันเป็นผลพวงมาจากการขยายตัวของภาคก่อสร้าง ยานยนต์ และเครื่องจักรกล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มกำลังผลิตเพื่อทดแทนที่เสียหายจากน้ำท่วมปีก่อน โดยที่พบว่าการบริโภคเหล็กในประเทศช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวน 5.3 ล้านเมตริกตัน ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.6 และสำหรับราคาเหล็กในประเทศพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สวนทางกับราคาเหล็กโลกที่ทะยอยปรับตัวลดลง ทั้งนี้เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศไทย และยังเริ่มเจาะตลาดส่งออกในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นอีก โดยที่ ม.ค-พ.ค. 2555 มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 37 ของมูลค่าส่งออกเหล็กรวม ซึ่งขยายตัวมากที่ลาวและมาเลเซียถึงร้อยละ 49.9 และ 24 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า การบริโภคเหล็กในประเทศยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1)การขยายตัวของกลุ่มก่อสร้าง ยานยนต์ และเครื่องจักรกล: เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมปลายปี 2554 ทำให้ทั้งสามกลุ่มต่างได้รับความเสียหาย จึงมีการผลิตยานยนต์และเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นมากเพื่อทดแทนที่เสียหาย ประกอบกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้า และโครงการคืนภาษีสำหรับรถยนต์คันแรก จึงยิ่งทำให้ภาคก่อสร้างและยานยนต์ปรับตัวสูงขึ้นมากใน 5 เดือนที่ผ่านมา

2)การสนับสนุนและนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการเหล็กและเหล็กกล้า: ปัจจุบันมีคู่แข่งขันจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันทางด้านราคากับผู้ผลิตเหล็กไทย โดยกำหนดราคาเหล็กประเภทใกล้เคียงกันต่ำกว่าของไทย เนื่องด้วยมีความได้เปรียบที่ได้รับยกเว้นภาษีจากประเทศตนและภาษีนำเข้าจากไทย ด้วยเหตุที่อ้างว่ามีส่วนผสมต่างกับเหล็กที่ผลิตในไทย ดังนั้นภาครัฐจึงควรหันมาช่วยเหลือผู้ผลิตเหล็กอย่างจริงจังในประเด็นดังกล่าว

3)ราคาเหล็กโลกมีแนวโน้มอ่อนตัวตามอุปสงค์โลก: นับเป็นโอกาสที่ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กไทยจะมีความได้เปรียบในการลดต้นทุนการผลิตเหล็ก เนื่องจากไทยยังต้องนำเข้าวัตถุดิบเหล็ก ยังไม่มีเหล็กต้นน้ำ ดังนั้นเมื่อราคาเหล็กโลกลดลง จึงทำให้วัตถุดิบหลักในการผลิตเหล็กในไทยลดลงเช่นกัน

จากปัจจัยทั้งหมด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการณ์อัตราเติบโตของการบริโภคเหล็กในไทยได้ว่าอยู่ในช่วงร้อยละ 6.412.5 หรือคิดเป็นประมาณ 15.6 – 16.5 ล้านเมตริกตัน ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2554 ที่มีปริมาณการบริโภค 14.7 ล้านเมตริกตัน ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยที่ตลอดทั้งปี 2555 มียอดบริโภคเหล็กเฉลี่ย 1.3 - 1.4 ล้านเมตริกตันต่อเดือน ซึ่งมากกว่า 5 ปีที่ผ่านมา อันมีเหตุมาจากการกระตุ้นความต้องการใช้เหล็กจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องของเหล็กเป็นสำคัญ ดังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องเตรียมหามาตรการป้องกันตลาดเหล็กในประเทศจากการทุ่มตลาดจากประเทศผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ และควรกำหนดการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เหล็กนำเข้าอย่างเข็มงวดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อป้องกันปัญหาการนำเข้าเหล็กที่ไม่ได้คุณภาพมาขายในตลาด รวมถึงการหามาตรการป้องกันและตรวจสอบประเภทของเหล็กนำเข้าให้เป็นไปตามพิกัดศุลกากรอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงการเสียภาษี เพื่อปกป้องผู้ผลิตเหล็กไทยและให้ผู้บริโภคใช้เหล็กที่มีมาตรฐาน ทั้งนี้ไทยยังมีโอกาสขยายตลาดเหล็กสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กนอกกลุ่มอาเซียนชะลอตัวลงซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติยูโร โซน อาเซียนจึงเป็นเป้าหมายใหม่ของผู้ส่งออกเหล็กไทย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม