Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 สิงหาคม 2555

เกษตรกรรม

วิกฤติภัยแล้งในหลายภูมิภาค...ปัจจัยเสี่ยงดันราคาอาหารโลกสูงขึ้น (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3337)

คะแนนเฉลี่ย

ภาวะภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 56 ปีของสหรัฐฯ สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองจำนวนมหาศาล ซึ่งเกิดขึ้นครอบคลุมพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ กลายเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองพุ่งขึ้นทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก โดยปริมาณผลผลิตธัญพืชที่ลดลง เป็นแรงกดดันให้ดัชนีราคาอาหารในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งรายงานโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ในเดือนกรกฎาคม 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เนื่องจากได้รับแรงกดดันส่วนใหญ่มาจากการปรับขึ้นของราคาธัญพืช นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ยังคาดว่าผู้บริโภคอาจต้องเผชิญราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3-4 ในปี 2556 โดยเฉพาะราคาไก่ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเป็นอันดับแรก

จากการเพิ่มขึ้นของราคาธัญพืช ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหาร ซึ่งมีน้ำหนักในตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภคสูงถึงร้อยละ 33.0 อาจเป็นปัจจัยหนุนให้แนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นในระยะต่อไปได้ ถึงแม้ว่าในระยะนี้แรงกดดันต่อระดับราคาสินค้าผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคของรัฐบาล การที่ผู้ประกอบการยังมีสต๊อกสินค้าคงเหลือ ประกอบกับยังมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังปี 2555 ท่ามกลางผลกระทบจากวิกฤติยูโรโซน จึงอาจยังไม่เห็นผลการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภคในทันที อย่างไรก็ตาม หากราคาธัญพืชโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือยืนในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ก็คาดว่าราคาอาหารอาจปรับขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และอาจส่งผลต่อเงินเฟ้อได้ในระยะต่อไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในระยะสั้นประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากข้าวโพดและถั่วเหลืองถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อาหารที่สำคัญ อันอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนอาหารหลายประเภทเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้สร้างความกังวลต่อแนวโน้มราคาอาหารในประเทศที่อาจกลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง รวมไปถึงส่งผลกดดันต่อภาวะค่าครองชีพของผู้บริโภคในที่สุด โดยจากการวิเคราะห์ราคาวัตถุดิบธัญพืชที่สูงเป็นประวัติการณ์ในปัจจุบัน หากราคายังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องยาวนานถึงช่วงไตรมาสสุดท้ายอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยสูงขึ้นอีกราวร้อยละ 0.2-0.3 จากกรณีปกติ

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม