Display mode (Doesn't show in master page preview)

20 กันยายน 2555

อุตสาหกรรม

[AEC Plus] อุตสาหกรรมเหล็กไทยเตรียมพร้อมขยายตลาดอาเซียนและรับมือการเปิดเสรี AEC (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2289)

คะแนนเฉลี่ย

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็ก กำลังเกิดสภาวะอุปทานส่วนเกินในตลาดเหล็กโลก บวกกับสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว จึงมีผลให้ความต้องการใช้เหล็กลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตเหล็กจำเป็นต้องหาตลาดใหม่ เพื่อระบายสินค้าของตน ซึ่งตลาดอาเซียนกำลังเป็นที่จับตามอง เพราะกำลังขยายการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมในประเทศ มีผลให้อุปสงค์เหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้ผู้ผลิตเหล็กไทยคงจะต้องเร่งปรับศักยภาพของตนเอง ให้สามารถรองรับกับการแข่งขันที่รุนแรงได้ ซึ่งเมื่อพิจารณากำลังการผลิตของไทย พบว่ามีกำลังการผลิตเหล็กและมูลค่าการส่งออกเหล็กอันดับต้นๆของอาเซียน อย่างไรก็ดี อินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นสองประเทศที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเหตุที่ไทยได้รับการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่า จึงยังคงมีความได้เปรียบทางการค้าและการลงทุนเหล็กในกลุ่มอาเซียน ประกอบกับไทยมีกลุ่มก่อสร้างและยานยนต์ดึงดูดนักลงทุน

ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันที่สูงขึ้น จากความต้องการใช้เหล็กที่ขยายตัวมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าผู้ประกอบการควรหาแนวทางปรับตัว คือ

1) การรับมือการแข่งขันภายในประเทศ ด้วยการบริหารจัดการปริมาณเหล็กให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะราคาเหล็กตลาดโลกผันผวน ควรเตรียมหาแหล่งเงินทุนสำรองไว้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและควบคุมความเสี่ยง วิจัยและพัฒนาเทคโนลียีใหม่ๆ เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และมีกระบวนการคัดแยกเศษเหล็กก่อนการผลิต รวมถึงสนับสนุนให้มี การซื้อขายเศษเหล็กในประเทศ

2) การขยายตลาดในอาเซียน ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าเหล็กสำเร็จรูปมากขึ้น เพราะมีมูลค่าสูง และควรรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าไว้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประมาณการแนวโน้มการส่งออกเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดอาเซียน ทั้งปี 2555 คาดว่ามูลค่าส่งออกไปยังตลาดอาเซียนอยู่ที่ 57,500 – 59,000 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตต่อปีเท่ากับร้อยละ 3.0 – 5.5 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศ อาทิ ถนน เขื่อนสร้างพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ และระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น ส่วนความต้องการใช้เหล็กในอาเซียน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ทั้งปี 2555 จะอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 55.5 – 56.5 ล้านเมตริกตัน ขยายตัวร้อยละ 4-6 จากปีก่อน และปี 2556 คาดว่าจะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-6.5 จากปีนี้

อย่างไรก็ดี เพื่อส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพแก่อุตสาหกรรมเหล็กไทย ภาครัฐอาจจะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ด้วยการมีมาตรการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล็กที่ชัดเจน สนับสนุนและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมเส้นทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงการค้าและการลงทุน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม