Display mode (Doesn't show in master page preview)

5 กุมภาพันธ์ 2556

การค้า

ไทยต้องปรับตัวรับ GSP ระบบใหม่ของอียู ปี’57 พร้อมเร่งเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3409)

คะแนนเฉลี่ย

เมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป หรืออียูได้ประกาศสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalised System of Preferences: GSP) ระบบใหม่อย่างเป็นทางการ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 .. 2557 ส่งผลให้ไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP รวม 3 หมวดสินค้าในปี 2557 คือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และสินค้าประมงแปรรูป (HS 16) อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ (HS 17-23) และอัญมณีและเครื่องประดับ (HS 71) (อัญมณีและเครื่องประดับนั้นไทยถูกตัดสิทธิมาก่อนหน้านี้แล้ว) ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป คาดว่าไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP ในทุกรายสินค้าจากเกณฑ์การตัดสิทธิตามรายได้ประชาชาติซึ่งส่งผลต่อภาพรวมการส่งออกของไทยไปอียู

ภายหลังไทยถูกตัดสิทธิ GSP นั้น สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังอียูต้องเผชิญกับอัตราภาษีนำเข้าปกติ (Most Favored Nation: MFN) ที่สูงกว่าอัตรา GSP ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สินค้าที่มีการพึ่งพาตลาดอียู รวมทั้งมีอัตราการใช้สิทธิ GSP สูงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าชนิดอื่น โดยในช่วงปี 2557 สินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง กุ้งแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ส่วนในช่วงปี 2558 ได้แก่ ยานยนต์ขนส่ง เครื่องปรับอากาศชนิดติดผนัง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าสินค้าที่ปัจจุบันส่งออกไปอียูภายใต้สิทธิ GSP และเข้าข่ายจะสูญเสียสิทธิจากการถูกตัดสิทธิ GSP ทุกรายการ อาจมีมูลค่าอยู่ในกรอบ 9,000-11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงต่อภาพรวมการส่งออกของไทยไปยังอียูอาจจะต่ำกว่านั้น และแตกต่างกันตามประเภทสินค้า

หนทางบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการจากการแข่งขันด้านแต้มต่อทางภาษีหลังไทยถูกตัดสิทธิ GSPทางหนึ่ง คือการเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2558-2559 อย่างไรก็ตาม การเจรจาควรคำนึงถึงประเด็นอ่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเองก็ควรเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า