Display mode (Doesn't show in master page preview)

17 กันยายน 2556

อุตสาหกรรม

โครงสร้างอิเล็กทรอนิกส์ไทย ... กับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการปรับตัวในอนาคต (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2403)

คะแนนเฉลี่ย

โครงสร้างการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทยที่พึ่งพิงสินค้ากลุ่มคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 55.6 ประกอบกับการชะลอตัวของอุปสงค์คอมพิวเตอร์โลกที่หดตัวติดต่อกันถึง 5 ไตรมาส โดยในไตรมาส 2/2556 หดตัวถึงร้อยละ 10.9 เป็นปัจจัยกดดันให้ภาพรวมการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทยหดตัวร้อยละ 3.9 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2556

ปัจจุบันอิเล็กทรอนิกส์ไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตเพื่อเข้าสู่อุปสงค์ของตลาดโลก ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนโครงสร้างการลงทุน โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนไปในอิเล็กทรอนิกส์ที่ตลาดโลกต้องการ เช่น วงจรรวม วงจรพิมพ์ และเซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น โดยอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ RFID เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการลงทุนดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า น่าจะส่งผลให้การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ปี 2556 ของกลุ่มที่มีศักยภาพตอบสนองความต้องการโลกดังกล่าวอาจจะขยายตัวร้อยละ 17.2-18.4 ในขณะที่อิเล็กทรอนิกส์กลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อาจจะหดตัวร้อยละ 17.4-15.3 ทำให้ภาพรวมการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ปี 2556 น่าจะขยายตัวร้อยละ -2.8 ถึง 0.3

การปรับตัวในอนาคตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยที่จำเป็นต้องส่งเสริม เช่น การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ การสร้างคลัสเตอร์อิเล็กทรอนิกสยานยนต์ การผลิตอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสมาร์ทโฟน RFID และ MEMS เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวก็ยังคงต้องติดตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาและจะเสร็จสิ้นภายในธันวาคม 2556 และมีผลบังคับใช้ในมกราคม 2558

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม