Display mode (Doesn't show in master page preview)

16 กันยายน 2557

อุตสาหกรรม

กินเจปี’57: คาดคนกรุงฯ ใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มเจ กว่า 3,700 ล้านบาท ... ผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์รับโอกาสทางธุรกิจ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2538)

คะแนนเฉลี่ย

;เทศกาลกินเจ” ในปีนี้มีอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกระหว่างวันที่ 24 กันยายนถึง 2 ตุลาคม และตามปฏิทินจีนอีกช่วงหนึ่งคือระหว่างวันที่ 24 ตุลาคมถึง 1 พฤศจิกายน (ซึ่งคาดว่าความนิยมในการกินเจทั้งสองช่วงนั้น น่าจะได้รับความนิยมเฉพาะในจังหวัดที่มีการจัดเทศกาลกินเจอย่างยิ่งใหญ่ อาทิ ภูเก็ต นครสวรรค์) ในขณะที่บรรยากาศการกินเจในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น น่าจะได้รับความนิยมในช่วงแรกมากกว่าช่วงที่สอง และจากการสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า คนกรุงเทพฯ สนใจหันมากินเจมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เลือกกินเจเป็นบางวัน/บางมื้อเฉลี่ย 4 วันจากทั้งหมด 9 วัน และส่วนใหญ่จะนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านอาหารข้างทางในรูปแบบของการตักขายมากกว่าการซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหารเอง ขณะที่นอกเหนือจากอาหารมื้อหลักแล้ว อาหารว่างในช่วงเทศกาลกินเจที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุด ได้แก่ นมถั่วเหลืองและน้ำผัก/ผลไม้ ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า นอกเหนือจากผู้บริโภคที่เคยกินเจเป็นประจำอยู่ทุกๆ ปี แล้ว ในปีนี้วัยรุ่น/วัยทำงานรุ่นใหม่ ยังเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่หันมาเลือกกินเจในช่วงเทศกาลมากขึ้น โดยบางส่วนให้เหตุผลว่า รับประทานเพื่อสุขภาพและตามกระแสในช่วงเทศกาลกินเจ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าแรงกดดันด้านค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันจะมีผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค แต่เนื่องจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายที่เน้นด้านอาหารและเครื่องดื่มเจเป็นหลัก ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีการใช้จ่ายเป็นประจำอยู่แล้วในช่วงวันปกติ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนจากอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่เจมาเป็นอาหารและเครื่องดื่มเจ จึงคาดว่า ผู้บริโภคยังสามารถปรับตัวได้ และไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจมากนัก ประกอบกับผลจากการทำกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ด้านราคา กลยุทธ์ด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ก็น่าจะมีส่วนอย่างมากที่จะช่วยสร้างบรรยากาศและกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้คึกคักในเทศกาลกินเจในปีนี้

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 ของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จะมีเม็ดเงินใช้จ่ายทางด้านอาหารและเครื่องดื่มเจสะพัดกว่า 3,700 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 (YoY) หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 240 บาทต่อคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 200 บาทต่อคน โดยเป็นการคำนวณเม็ดเงินเฉพาะช่วงการกินเจระหว่างวันที่ 24 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม