Display mode (Doesn't show in master page preview)

11 มกราคม 2559

การค้า

ปี 2559 เป็นอีกปีที่ยากสำหรับส่งออกสินค้าไทยไปสหภาพยุโรป (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2692)

คะแนนเฉลี่ย

ภาพรวมการส่งออกของไทยไปสหภาพยุโรป (EU) ปี 2559 ถึงแม้จะมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มการส่งออกสินค้าในกลุ่มยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถชดเชยให้การส่งออกกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง โดยปัจจัยหลักที่กดดันการฟื้นตัวมาจากการเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา จากกรณีที่ไทยเสียสิทธิพิเศษทางภาษี หรือ Generalized System of Preferences (GSP) อีกทั้งแรงกดดันล่าสุดจากการลงนามข้อตกลงของการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป (EU-Vietnam Free Trade Agreement) ที่เสริมความได้เปรียบให้เวียดนามที่เป็นคู่แข่งส่งออกของไทย และผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ กระทบต่อราคาในสินค้ากลุ่มยางพาราและผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง

นอกจากนี้ สถานะใบเหลืองกรณีการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) เป็นประเด็นต้องจับตาผลการพิจารณาอย่างใกล้ชิดในช่วงต้นปีนี้ โดยในกรณีพื้นฐาน สหภาพยุโรปน่าจะยังคงสถานะใบเหลืองให้กับประเทศไทย หมายความว่าจะยังไม่มีมาตรการระงับการนำเข้าสินค้าประมงจากไทย ขณะที่กำลังซื้อในภาพรวมของสหภาพยุโรปก็ยังเป็นภาพเดียวกับปี 2558 ที่ค่อนข้างเปราะบาง และยังต้องจับตาประเด็นการก่อการร้ายที่หากทวีความรุนแรงจะกระทบกับเศรษฐกิจภูมิภาคที่ขณะนี้ยังต้องอาศัยแรงผลักดันจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

โดยจากปัจจัยดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า แนวโน้มการส่งออกไทยไปสหภาพยุโรปในปี 2559 ยังติดลบอยู่ในกรอบร้อยละ -1 (YoY) ถึง -3 (YoY) น้อยลงจากปี 2558 ที่ประเมินไว้ที่หดตัวร้อยละ -7 (YoY) เพราะปัจจัยลบต่างๆ ในปี 2559 ส่วนใหญ่ได้รับรู้และมีผลไปแล้วตั้งแต่ปี 2558 แต่ผลที่ต่อเนื่องทำให้ภาพรวมส่งออกไทยไปสหภาพยุโรปยังหดตัวต่อไปอีกเป็นปีที่ 2

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า