Display mode (Doesn't show in master page preview)

12 กุมภาพันธ์ 2559

อุตสาหกรรม

ส่งออกอาหารพร้อมทานไทยปี 59 พลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 4 ปี...แต่ยังต้องติดตาม NTBs ปัจจัยท้าทายการส่งออกอาหารไทยในระยะข้างหน้า (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2702)

คะแนนเฉลี่ย

ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารของไทยในปี 2559 คาดว่าจะหดตัวลดลงจากร้อยละ (-) 5.8 ในปี 2558 มาอยู่ในช่วงร้อยละ (-) 2.6 ถึงร้อยละ (-) 0.2 หรือคิดเป็นมูลค่า 27,340 - 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากการหดตัวอย่างต่อเนื่องของมูลค่าส่งออกสินค้าอาหารประเภทวัตถุดิบ (Raw materials) ท่ามกลางแรงกดดันทางด้านราคาสินค้าเกษตร แต่ได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 4 ปีของมูลค่าส่งออกอาหารพร้อมทานและเครื่องดื่ม (Ready-to-eat and beverage) โดยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 3.4 หรือคิดเป็นมูลค่า 14,080 - 14,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการขยายตัวเป็นบวกในปีนี้มาจากการขยายตัวในอัตราสูงของการส่งออกสินค้าอาหารพร้อมทานและเครื่องดื่มรายสำคัญต่อเนื่องจากปี 2558 ไม่ว่าจะเป็น ไก่แปรรูป ผลไม้สด-กระป๋อง-แปรรูป และเครื่องดื่ม ที่คาดว่าจะชดเชยมูลค่าส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่จะยังคงหดตัวต่อเนื่องในปีนี้ (ประมาณการบนเงื่อนไขที่ว่าประเทศไทยยังคงได้รับใบเหลือง IUU Fishing จาก EU ต่ออีก 6 เดือน) ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามการประเมิน IUU Fishing ของสหภาพยุโรป ที่จะประกาศในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไทยไปยังสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้า อุตสาหกรรมอาหารไทยยังคงต้องเผชิญความท้าทายทางด้านมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่จะเข้ามากระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไม่ว่าจะเป็น มาตรการ IUU Fishing ของสหรัฐฯ หรือกฎระเบียบการห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหารแปรรูปของสหรัฐฯและ EU ซึ่งยังคงต้องติดตามต่อไปทั้งในประเด็นขอบเขตความครอบคลุมและบทลงโทษทางกฎหมายในแต่ละมาตรการ อย่างไรก็ตาม จากจุดแข็งของอุตสาหกรรมอาหารไทยทางด้านคุณภาพและมาตรฐานการผลิต น่าจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวรับมือได้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม