Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 สิงหาคม 2559

การค้า

ส่งออกบริการ ... แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ช่วยพยุงภาคการส่งออก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2765)

คะแนนเฉลี่ย

ท่ามกลางการค้าโลกที่ชะลอตัว สะท้อนผ่านมูลค่าส่งออกสินค้าของไทย ในปี 2012-2015 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ต่อปี แต่มูลค่าส่งออกบริการยังคงเติบโตได้เฉลี่ยร้อยละ 7.2 ต่อปี ซึ่งขยายตัวสูงเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ รองจากประเทศฟิลิปปินส์

การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกบริการของไทย ได้รับอานิสงส์มาจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งออกบริการท่องเที่ยวเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9.6 ต่อปี ขยายตัวสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ เนื่องจากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก ประกอบกับแรงบวกจากค่าเงินบาทเทียบกับเงินดออลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง

แม้การส่งออกบริการของไทยจะขยายตัวในอัตราสูง แต่ก็มีบทบาทในการชดเชยการส่งออกสินค้าที่หดตัวเท่านั้น ยังไม่สามารถแทนที่การส่งออกสินค้าได้ เนื่องจากสัดส่วนมูลค่าส่งออกบริการต่อจีดีพียังอยู่ในระดับต่ำ (ราวร้อยละ 15 ของจีดีพี) ทั้งนี้ในระยะ 3 ปีข้างหน้า (2017-2019) ภายใต้สมมติฐาน การส่งออกสินค้าขยายตัวเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 1 ต่อปี การส่งออกบริการต้องเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 13 ต่อปี เพื่อจะรักษาสัดส่วนมูลค่าส่งออกรวมต่อจีดีพีให้เท่ากับค่าเฉลี่ยเมื่อ 5 ปีก่อนหน้า (2011-2015) ที่ราวร้อยละ 77 ของจีดีพี โดยเครื่องมือที่จะทำให้การส่งออกบริการขยายตัวในอัตราดังกล่าวข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า รัฐบาลควรจะใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก เนื่องจากไทยมีศักยภาพทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และความคุ้มค่า

อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะปานกลางถึงยาว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า รัฐบาลควรสนับสนุนบริการอื่นๆ ที่ไทยมีศักยภาพ เช่น บริการก่อสร้าง บริการวิชาชีพ บริการขนส่ง บริการเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ให้มีความสำคัญควบคู่ไปกับบริการท่องเที่ยว และผลักดันให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ๆ ในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า