Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 มิถุนายน 2548

อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ : เติบโตได้..แม้ปัญหาและอุปสรรคยังมีอยู่มาก

คะแนนเฉลี่ย

การเดินทางมาประเทศไทยของนายบิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ผู้ผลิตซอฟท์แวร์รายใหญ่ที่สุดในโลก ในวันที่ 30 มิถุนายนที่จะถึงนี้อย่างเป็นทางการ ได้ส่งผลต่อภาพการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ของประเทศไทยมากพอสมควร ซึ่งนอกจากจะเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีพร้อมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลง 3 ฉบับ ประกอบด้วย บันทึกข้อตกลงด้านการศึกษากับกระทรวงศึกษาธิการ บันทึกข้อตกลงในการสนับสนุนโครงการรัฐบาลอิเล็กทรกนิกส์กับกระทรวงไอซีที และบันทึกข้อตกลงการพัฒนาเว็บเซอร์วิส ซึ่งเป็นตลาดกลางในการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต การเดินทางมาเยือนประเทศในแถบเอเชียครั้งนี้ของบิล เกตส์ แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่จะขยายฐานธุรกิจซอฟท์แวร์ในเอเชียของไมโครซอฟท์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หลังจากเล็งเห็นว่าตลาดในแถบเอเชียนั้นมีการขยายตัวของมูลค่าการใช้ไอทีเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงหลังและได้รับการคาดการณ์ว่ามีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตลาดสำคัญเช่นอเมริกาเหนือและยุโรป แม้ว่าการใช้ซอฟท์แวร์ไมโครซอฟท์จะมีอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย แต่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ที่สูงมากประกอบกับการมีนโยบายสนับสนุนซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สของรัฐบาลหลายๆประเทศ ทำให้การดำเนินธุรกิจของไมโครซอฟท์ต้องมีลักษณะในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเดินทางมายังประเทศไทยของ นายบิล เกตส์ในครั้งนี้ คาดว่าจะเป็นการกระตุ้นให้ไทยต้องมีการปรับทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์อีกครั้งหนึ่ง

ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีความพยายามที่จะผลักดันให้เป็นอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่ง เนื่องจากแนวโน้มของการใช้ซอฟท์แวร์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในประเทศส่วนใหญ่เป็นซอฟท์แวร์ที่ผลิตจากต่างประเทศ จึงทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ซื้อซอฟท์แวร์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้ไทยต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศไปเป็นจำนวนมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ในประเทศเองนั้นยังต้องได้รับการผลักดันเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีก โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการลดปริมาณการนำเข้าและลดการพึ่งพิงซอฟท์แวร์ต่างประเทศลง การจัดการด้านทรัพยากรต่างๆ ทั้งการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบุคลากรตลอดจนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็น ให้บริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ในประเทศไทยสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ทั้งนี้ประเทศไทยเอง ก็มีจุดแข็งหลายๆ ด้าน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ภาวะทางการเมืองที่สงบและไม่มีเหตุการณ์ที่รุนแรงเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แนวโน้มของเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังขยายตัว ทำให้ตลาดไอทีในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปัจจุบันไทยจะยังขาดบุคลากรทางด้านไอทีซึ่งเป็นปัจจัยเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ที่สำคัญ แต่หากภาครัฐและหน่วยงานเอกชนร่วมมือกันอย่างจริงจัง การจะทำให้ประเทศบรรลุเป้าหมายและกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกซอฟท์แวร์ที่สำคัญในระดับภูมิภาคก็น่าจะไม่ไกลเกินเอื้อม

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม