Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 มิถุนายน 2548

การค้า

1 กรกฎาคม 2548 : ก้าวแรกของการลดภาษี FTA ไทย-นิวซีแลนด์

คะแนนเฉลี่ย

วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นกำหนดเวลาที่ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย- นิวซีแลนด์จะมีผลบังคับใช้ หลังจากประเทศทั้งสองลงนามความตกลงดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 โดยไทยและนิวซีแลนด์จะเริ่มต้นลดภาษีสินค้าภายใต้ความตกลง FTA ระหว่างกัน ส่วนการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเจรจาเปิดเสรีภาคบริการอีก 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2551)

การจัดทำ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ร่วมกันของไทยและนิวซีแลนด์ ดังนี้

นิวซีแลนด์

- สินค้าเกษตรของนิวซีแลนด์จะมีศักยภาพทางการแข่งขันในไทยมากขึ้นจากการลดภาษีของไทยภายใต้ FTA ที่สำคัญ ได้แก่ อาหารปรุงแต่งสำหรับเลี้ยงทารก นมเต็ม- มันเนย และแครอท ส่วนสินค้าเกษตรอื่นๆ ของนิวซีแลนด์ที่มีโอกาสขยายตลาดส่งออกในไทย ได้แก่ อโวคาโด เชอรี่ และกีวี เพราะอัตราภาษีของไทยปัจจุบัน 30-40% จะถูก ยกเลิกทันทีที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้

- สินค้าอุตสาหกรรมของนิวซีแลนด์จะมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่งขึ้นในตลาดไทย เมื่อสินค้าอุตสาหกรรมของนิวซีแลนด์ราว 71% ของสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งหมดของนิวซีแลนด์ที่ส่งออกมาไทยจะได้รับการยกเว้นภาษีทันทีในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง แก้วและเครื่องแก้ว เครื่องจักรกล น้ำอัดลม กระเบื้องปูพื้นและติดผนัง แชมพู และอาหารสุนัข/แมว เป็นต้น

ไทย

- สินค้าเกษตร - เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่กำหนดมาตรฐานด้าน สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary : SPS) ไว้ในระดับสูง การจัดทำ FTA กับนิวซีแลนด์ทำให้ไทยได้รับประโยชน์ในด้านการจัดทำข้อตกลงกับนิวซีแลนด์ด้าน SPS ส่งผลให้สินค้าส่งออกของไทยประเภทผัก ผลไม้และอาหารเข้าสู่ตลาดนิวซีแลนด์ได้ง่ายขึ้น เป็นโอกาสของสินค้าส่งออกของไทยที่มีศักยภาพ และสินค้าเกษตรไทยนำร่อง 5 รายการ ได้แก่ ลิ้นจี่ ลำไย มังคุด ทุเรียนและขิงสด จะขยายตัวในตลาดนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงได้มากขึ้น (แม้นิวซีแลนด์มีประชากรเพียงราว 4 ล้านคน แต่รายได้ประชาชาติต่อคนต่อปีประมาณ 23,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าไทยราว 10 เท่า) และที่สำคัญ การที่สินค้าผัก-ผลไม้ของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดนิวซีแลนด์ได้สะดวกขึ้นจะช่วยให้ ดุลการค้าสินค้าเกษตรที่ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลกับนิวซีแลนด์ปีละราว 5,000 ล้านบาท มีแนวโน้มดีขึ้น

- สินค้าอุตสาหกรรม - จากโครงสร้างการส่งออกของไทยไปนิวซีแลนด์ ไทย ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปนิวซีแลนด์ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 78% ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2547 การเริ่มต้นลดภาษีของนิวซีแลนด์ภายใต้ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ จะเป็นโอกาสของสินค้า อุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในตลาดนิวซีแลนด์ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เฟอร์นิเจอร์ แชมพู และเครื่องปรับอากาศ
  • โอกาสเข้าทำงานของพ่อครัวไทย - นิวซีแลนด์อนุญาตให้พ่อครัวไทยที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ตามข้อกำหนดเข้าไปทำงานชั่วคราวในนิวซีแลนด์ได้ ซึ่งโดยปกติ นิวซีแลนด์จะค่อนข้างเข้มงวดในการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้าไปทำงานในนิวซีแลนด์
  • ความสะดวกจากการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-certified Rule of Origin) โดยผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกของไทยหรือบุคคลในประเทศที่สามที่ได้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของผู้ผลิตไทยสามารถรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ผลิตและส่งออกจากไทยด้วยตนเองบนใบ Invoice (โดยไม่ต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ดังเช่นกรณีทั่วๆ ไป)

อย่างไรก็ตาม นิวซีแลนด์เป็นประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์โคเนื้อ โคนม อันดับต้นๆ ของโลก การเปิดเสรี FTA กับนิวซีแลนด์ทำให้อุตสาหกรรมโคเนื้อ โคนม ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวของไทยจะได้รับผลกระทบ ดังนั้นการเตรียมพร้อมภายในของไทยก่อนการเปิดเสรีอุตสาหกรรมโคเนื้อและโคนมอย่างเต็มที่ ซึ่งมีเวลาปรับตัวอีก 15-20 ปี จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เห็นว่า เพื่อเตรียมรับมือต่อการเปิดเสรีอุตสาหกรรมโคเนื้อ โคนม ควรมีการปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร และดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วน โดยความร่วมมือของภาครัฐ เกษตรกร และกลุ่ม สหกรณ์ต่างๆ และเนื่องจากภาครัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์โคเนื้อและโคนมซึ่งมีทั้งมาตร-การเชิงรุกและมาตรการเชิงรับ จึงควรรีบดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า

FTA