Display mode (Doesn't show in master page preview)

17 สิงหาคม 2548

เกษตรกรรม

ไข้หวัดสุกรในจีน : ส่งผลดี ... ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์สุกรเพิ่ม

คะแนนเฉลี่ย

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมจีนแจ้งให้องค์การสุขภาพสัตว์แห่งโลกทราบว่าเชื้อ สเตร็บโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ระบาดในสุกรในฟาร์ม 8 แห่งที่มณฑลเสฉวนเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งห้องปฏิบัติการทดลองของจีนได้ยืนยันการระบาดของเชื้อดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดสุกรในจีนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสุกรในจีน ซึ่งมีมูลค่าราว 10,000 ล้านหยวน หรือ 1,235 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดสุกรในจีนนั้นส่งผลดีต่อไทย โดยคาดว่าจะทำให้ไทยสามารถส่งออกเนื้อสุกรไปยังตลาดฮ่องกงได้เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 เนื่องจากฮ่องกงประกาศระงับนำเข้าเนื้อสุกรและเนื้อชนิดอื่นๆจากมณฑลเสฉวนของจีนเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ในปี 2547 ฮ่องกงนำเข้าเนื้อสุกรจากจีน 200,000 ตัน คาดว่าอานิสงส์จากการส่งออกเนื้อสุกรสดแช่เย็นแช่แข็งไปยังตลาดฮ่องกงได้เพิ่มขึ้นในปี 2548 นี้จะทำให้การส่งออกเนื้อสุกรสดแช่เย็นแช่แข็งกลับมาสดใสขึ้นอีกครั้งหลังจากที่การส่งออกชะลอตัวในช่วงปี 2546-2547 ส่วนเนื้อสุกรปรุงสุกนั้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มนำเข้าเพิ่มขึ้น ภายหลังจากโรงงานผลิตภัณฑ์สุกรของไทยผ่านการตรวจสอบจากญี่ปุ่น รวมทั้งการที่ญี่ปุ่นเพิ่มโควตาส่งออกปลอดภาษีให้กับไทยเพื่อเป็นการช่วยเหลือในกรณีที่ไทยประสบปัญหาภัยแล้งและสึนามิ

มูลค่าการส่งออกเนื้อสุกรสดแช่เย็นและแช่แข็ง และเนื้อสุกรปรุงสุกของไทย
ปริมาณ : ตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ประเภท
2546*
2547*
2548**
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
ปริมาณ
มูลค่า
เนื้อสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง
9,493

(-15.5)
823

(-27.0)
5,520

(-41.9)
524

(-36.3)
7,800

(41.3)
620

(18.3)
เนื้อสุกรปรุงสุก
2,851

(50.9)
308

(42.6)
4,325

(51.7)
570

(85.0)
7,200

(66.5)
1,880

(229.8)
รวม
12,344

(-5.9)
1,131

(-15.8)
9,845

(-20.2)
1,094

(-3.3)
15,000

(52.4)
2,500

(128.5)

ที่มา : *กรมปศุสัตว์

**คาดการณ์โดยสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก

สำหรับในอนาคตคาดการณ์ว่าการส่งออกเนื้อสุกรจะยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดฮ่องกงและญี่ปุ่น รวมไปถึงการเจาะขยายตลาดใหม่ๆในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ไต้หวัน บรูไน และจีน เนื่องจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนายกระดับมาตรฐานการเลี้ยง โรงฆ่าชำแหละ และโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้การผลิตผลิตภัณฑ์สุกรของไทยได้รับการยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม