Display mode (Doesn't show in master page preview)

23 พฤษภาคม 2550

การค้า

ไทยต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน : รับเปิดเสรีภาคบริการ & การลงทุนของอาเซียน (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 1972)

คะแนนเฉลี่ย
การที่อาเซียนเร่งรัดการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน เป็นมาตรการเพื่อดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการรวมตัวของภูมิภาคอาเซียน แข่งขันกับประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาค เช่น จีนและอินเดีย โดยมีเป้าหมายสุดท้าย คือ การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งจะทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีฐานการผลิตและตลาดเดียวกัน โดยการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า ภาคบริการ และการลงทุน รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะอย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น ไทยในฐานะเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน ควรเร่งสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันในเวทีโลก เพื่อเป็นแหล่งดึงดูด FDI ของประเทศทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียน เตรียมพร้อมต่อการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุนอย่างเต็มที่ในปี 2558 ตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียน โดยภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในเวทีโลก ดังนี้
1. เพิ่มจำนวนแรงงานที่มีทักษะ – ปัจจุบันไทยขาดแคลนแรงงานฝีมือในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการหลายสาขา ที่สำคัญ ได้แก่ ภาคสิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรแปรรูป รวมทั้งภาคบริการที่ไทยมีศักยภาพ เช่น สาขาสุขภาพและสาขาท่องเที่ยว ความเพียงพอของแรงงานที่มีทักษะและมีคุณภาพมีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และดึงดูด FDI ด้วย
2. ลดต้นทุนด้านโลจีสติกส์ – ต้นทุนด้านโลจีสติกส์ของไทยค่อนข้างสูง ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูง และกระบวนการดำเนินธุรกิจล่าช้า ซึ่งกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและบั่นทอนบรรยากาศด้านการลงทุนของประเทศ ภาครัฐควรเร่งวางแผนพัฒนายกระดับระบบโลจิสติกส์ของไทยให้เป็นมาตรฐานสากล สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคอินโดจีน และแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเอื้อความสะดวกต่อภาคธุรกิจให้มากขึ้น

3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) - ภาครัฐควรสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงการวิจัยและพัฒนาระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และนำผลการวิจัยมาใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทย กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยี และการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้าไทยให้ได้มาตรฐานสากลและคำนึงถึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต และสร้างบรรยากาศด้านการลงทุนแล้ว ยังช่วยขจัดอุปสรรคจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) รักษาสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในประเทศเองด้วย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า