Display mode (Doesn't show in master page preview)

8 มิถุนายน 2550

การค้า

เวียดนาม : คู่ค้า-คู่แข่ง & พันธมิตรผลักดันธุรกิจไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 1975)

คะแนนเฉลี่ย
เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศในเอเชีย รองจากจีน เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเฉลี่ยราว 8% ในช่วงระหว่างปี 2547-2549 ส่งผลให้ชาวเวียดนามมีรายได้เพิ่มขึ้นและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้กำลังซื้อของคนเวียดนามเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เห็นว่า นักธุรกิจไทยควรเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าหรือจัดตั้งธุรกิจภาคบริการในเวียดนามเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างโอกาสเติบโตไปพร้อมๆ กับเวียดนาม โดยมองเวียดนามเป็นพันธมิตรทางการค้าและธุรกิจ เพราะเศรษฐกิจเวียดนามที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง จะช่วยสนับสนุนธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนผลิตสินค้าและจัดตั้งธุรกิจในภาคบริการในเวียดนามให้เติบโตตามไปด้วย โดยมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้
1. ปัจจัยภายในประเทศเวียดนาม ได้แก่
- แหล่งวัตถุดิบ/ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ไม้ สินค้าประมง และสินค้าเกษตร
- ค่าจ้างแรงงานในเวียดนามราคาถูกและมีปริมาณแรงงานเพียงพอ
- ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคด้านการลงทุน และเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น หลังจากเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) อย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2550
- สร้างบรรยากาศด้านการลงทุน โดยปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนของต่างชาติ และปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนในการทำธุรกิจในเวียดนาม
2. เนื่องจากปัจจุบันสินค้าส่งออกของไทยในตลาดโลกกำลังสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าหลายรายการ ได้แก่
(1) สินค้าที่ใช้แรงงานอย่างเข้มข้น ได้แก่ สิ่งทอ เสื้อผ้า และรองเท้า เนื่องจากค่าแรงงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศ
(2) สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะ กลุ่มสินค้าอาหาร/อาหารแปรรูป ซึ่งใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ทำให้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างเต็มที่ และสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก การเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าในเวียดนาม จึงช่วยขจัดปัจจัยลบจากการแข็งค่าของเงินบาท การขาดแคลนแรงงานในประเทศ และค่าแรงงานที่สูงกว่าเวียดนามได้ โดยเฉพาะ ทำให้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างเต็มที่ และสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก การเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าในเวียดนาม จึงช่วยขจัดปัจจัยลบจากการแข็งค่าของเงินบาท การขาดแคลนแรงงานในประเทศ และค่าแรงงานที่สูงกว่าเวียดนามได้
3. การบริโภคภายในประเทศเวียดนามที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ความต้องการบริโภคจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการของคนเวียดนามเพิ่มขึ้น เป็นโอกาสของธุรกิจผลิตสินค้าและธุรกิจภาคบริการของไทยในเวียดนามที่มีโอกาสเติบโตได้ดีในเวียดนาม
4. ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าที่ผลิตในเวียดนามไปยังประเทศที่สาม โดยได้รับผลดีจากการที่ประเทศต่างๆ ลดภาษีศุลกากรให้กับสินค้าส่งออกของเวียดนาม หลังจากที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO นอกจากนี้สินค้าส่งออกของไทยที่ผลิตในเวียดนามยังได้รับผลดีจากสิทธิพิเศษทางภาษีที่เวียดนามได้รับจากประเทศคู่ค้าต่างๆ ด้วย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


การค้า