Display mode (Doesn't show in master page preview)

2 พฤศจิกายน 2565

อุตสาหกรรม

ทำความรู้จักมาตรการเพื่อสิ่งแวดล้อม: ภาษีคาร์บอนในประเทศ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3354)

คะแนนเฉลี่ย

​   สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดผลกระทบเกิดจากการความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศ หลายประเทศจึงมีมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงบทลงโทษจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมาตรการทางภาษีเป็นเครื่องมือหนึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในการเพิ่มต้นทุนในสินค้าที่พึงประสงค์ เพื่อให้ผู้ผลิตลดจำนวนการผลิต หรือเพื่อให้ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า โดยภาษีคาร์บอนถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มต้นทุนในสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ผู้ผลิตปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง หรือผลิตสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า ซึ่งกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางในการนำภาษีคาร์บอนมาใช้ในประเทศไทย

      ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นภาษีที่เก็บจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (NO2) หรือก๊าซกลุ่มฟลูโอริเนต(F-Gases) ที่มีคุณสมบัติทำลายชั้นโอโซน เช่น ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เป็นต้น โดยฐานภาษีคาร์บอนที่ใช้ในการจัดเก็บมี 2 แบบ 1.จัดเก็บภาษีทางตรงจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้า และ 2. จัดเก็บภาษีทางอ้อมตามการบริโภค

    ในต่างประเทศ การจัดเก็บภาษีคาร์บอนมีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ขณะที่ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกาบางประเทศเริ่มมีการนำภาษีคาร์บอนมาบังคับใช้เช่นกัน ปัจจุบันมี 29 ประเทศ ได้ทำการจัดเก็บภาษีคาร์บอนแล้ว  โดยอัตราภาษีคาร์บอนในต่างประเทศที่มีการจัดเก็บค่อนข้างแตกต่างกัน ตั้งแต่ 0.08 – 137 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน CO2 ซึ่งมีทั้งการจัดเก็บภาษีทางตรงจากการผลิตและจัดเก็บภาษีจากการบริโภค

     สำหรับประเทศไทย กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เริ่มนำอัตราภาษีที่คำนึงถึงการปล่อยก๊าซ CO2 มาใช้ครั้งแรกในการปรับปรุงโครงสร้างภาษีรถยนต์ในปี ค.ศ. 2016 โดยรถยนต์ที่มีอัตราการปล่อย CO2 ต่ำ จะจัดเก็บอัตราภาษีต่ำ และอัตราภาษีเพิ่มขึ้นตามปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 และในปี ค.ศ. 2022 กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำภาษีคาร์บอนมาใช้ ทั้งการจัดเก็บจากสินค้าทางอ้อม และการจัดเก็บโดยตรงจากกระบวนการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมตามมาตรการ EU- CBAM ของสหภาพยุโรป

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการจัดเก็บภาษีคาร์บอนของกรมสรรพสามิตนั้น สามารถทำได้ทั้งจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางตรงจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต และการจัดเก็บภาษีคาร์บอนทางอ้อมจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับตัว

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม

ESG