Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 พฤศจิกายน 2561

อุตสาหกรรม

การบริหารจัดการเศษวัสดุในไร่อ้อย : สร้างรายได้ส่วนเพิ่มสุทธิให้ชาวไร่อ้อยอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2942)

คะแนนเฉลี่ย

​          ใบและยอดอ้อยเป็นเศษวัสดุที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกอ้อย ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจและทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉพาะในปีการผลิต 2560/61 ที่มีปริมาณใบและยอดอ้อยรวมกันถึงประมาณ 22.94 ล้านตัน ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า จากความพร้อมด้านเครื่องจักรของชาวไร่อ้อยในปัจจุบัน จะสามารถเก็บรวบรวมใบและยอดอ้อยได้ประมาณ 3-4 ล้านตัน คิดเป็นรายได้สุทธิหลังหักต้นทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท เทียบกับศักยภาพของใบและยอดอ้อยที่น่าจะนำมาสร้างรายได้สุทธิให้กับชาวไร่อ้อยได้สูงถึง 6,800 ล้านบาท

           หนึ่งในวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับใบและยอดอ้อยคือ การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการตัดอ้อยสดจากผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรถตัดอ้อยที่ใช้แทนแรงงานคน ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอและสามารถรองรับอ้อยได้ประมาณร้อยละ 30-50 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด รวมถึงการสนับสนุนรถที่ใช้เก็บรวบรวมเศษใบและยอดอ้อย ซึ่งแม้ว่าจะมีต้นทุนประมาณ 6-9 แสนบาทต่อชุด แต่จะช่วยสร้างผลตอบแทนให้กับชาวไร่อ้อยในระยะยาว

            ​ มองไปข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การบริหารจัดการเศษวัสดุในไร่อ้อยอย่างเหมาะสม เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านรายได้ให้กับชาวไร่อ้อย ที่กำลังเผชิญความท้าทายจากราคาอ้อยที่ได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำตาลตลาดโลกตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามประเด็นการส่งเสริมให้มีการตัดอ้อยสดแทนการตัดอ้อยไฟไหม้ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 65.0 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด เพราะจะทำให้ใบและยอดอ้อยไม่ถูกเผาทิ้งไป ซึ่งจะเป็นเครื่องชี้ถึงความสำเร็จของมาตรการเพิ่มรายได้ให้กับชาวไร่อ้อย


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม