Display mode (Doesn't show in master page preview)

7 มกราคม 2563

อุตสาหกรรม

MRO อู่ตะเภาเฟสแรก ดันตลาดซ่อมเครื่องบินไทยโตเกือบเท่าตัว...ไทยควรเน้นเครื่องบินลำตัวกว้างฉีกตลาดจากคู่แข่งสำคัญในอาเซียน (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3069)

คะแนนเฉลี่ย

​​        ไทยนับเป็นหนึ่งศูนย์กลางการบินสำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีแนวโน้มการเติบโตของเครื่องบินในภูมิภาคและความต้องการซ่อมบำรุงอากาศยานสูงในปริมาณสูงในอนาคต แม้สถานการณ์ล่าสุดของไทยจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมกันได้ในช่วงกลางปี 2563 ทำให้เฟสแรกน่าจะเริ่มให้บริการได้ในปี 2566 อันจะเป็นโอกาสให้ไทยกลายมาเป็นอีกหนึ่งในฐานซ่อมบำรุงอากาศยานรองรับเครื่องบินจำนวนมากจากทั้งในและนอกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การแข่งขันของอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานในปัจจุบันเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อหลายประเทศในอาเซียนต่างก็พัฒนาตัวเองขึ้นเป็นฐานการลงทุนที่น่าสนใจด้วย

            ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ไทยอาจจำเป็นต้องสร้างจุดแข็งสำคัญที่แตกต่างจากประเทศอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันในระยะก่อร่างเป็นศูนย์กลางธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยานแห่งใหม่ของภูมิภาค โดยเฉพาะการเน้นตลาดซ่อมบำรุงเครื่องบินลำตัวกว้าง ขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคกำลังเน้นลงทุนในการซ่อมบำรุงเครื่องบินขนาดลำตัวแคบ นอกจากนี้ ไทยควรต้องมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านการซ่อมบำรุงทั้งจำนวนและคุณภาพในระยะอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อรับมือกับการขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้ในอนาคตอันใกล้

            ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า หากโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาในไทยเฟสแรกซึ่งเน้นการซ่อมบำรุงเครื่องบินขนาดลำตัวกว้างเป็นหลักเดินหน้าได้ตามแผน น่าจะช่วยสร้างมูลค่าการซ่อมบำรุงอากาศยานให้กับไทยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 292 ถึง 365 ล้านดอลลาร์ฯ จากระดับปัจจุบันที่มีมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ และมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตหากมีการขยายไปยังเฟสถัดไป หรือมีโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานแห่งใหม่ในพื้นที่อื่นในระยะข้างหน้า



ดูรายละเอียดฉบับเต็ม