Display mode (Doesn't show in master page preview)

2 พฤศจิกายน 2563

อุตสาหกรรม

อินโดนีเซีย...คู่แข่งฐานการผลิตรถยนต์ BEV ที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3156)

คะแนนเฉลี่ย

การเติบโตของรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเริ่มขยายมายังประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะการลงทุนเข้ามายังไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันไทยยังมีความได้เปรียบที่สูงกว่าอินโดนีเซียจากการมี นโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และออกมาก่อนอินโดนีเซียหลายปี ส่งผลให้มีโอกาสที่จะต่อยอดสู่การผลิตรถยนต์ BEV ได้เร็วกว่าอินโดนีเซียในอนาคต นอกจากนี้ ไทยยังมีห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนครบวงจร โดยมีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศเกินกว่าร้อยละ 80 และมีจำนวนธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มากกว่า 2,000 บริษัท ซึ่งสูงกว่าอินโดนีเซียพอสมควร ยังไม่รวมถึงความสามารถในการประกอบรถยนต์ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับโลกหลายประเภท ตรงข้ามกับอินโดนีเซียที่เน้นผลิตเฉพาะกลุ่มรถยนต์ MPV ขณะที่ความพร้อมและโอกาสในการขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าของไทยก็สูงกว่าอินโดนีเซีย

ทว่าในระยะไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า ความได้เปรียบดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อจุดแข็งใหม่ของอินโดนีเซียเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น ทั้งการสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นฐานผลิตแบตเตอรี่ Li-ion ของรถยนต์ BEV ได้เนื่องจากเป็นแหล่งแร่นิกเกิลวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการมีประชากรที่มีกำลังซื้อรถยนต์ BEV ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจนมากกว่าไทยอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต ตามโอกาสในการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะทำให้ตัวเลขยอดขายรถยนต์ BEV ของอินโดนีเซียเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดและขยับสูงกว่าไทยได้ในปี 2573

จากสถานการณ์ข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ไทยควรเร่งปรับยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาจุดแข็งเดิมที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีถัดจากนี้ เพื่อกันการสูญเสียแรงดึงดูดการลงทุนไปให้กับอินโดนีเซีย โดย 2 ยุทธศาสาตร์สำคัญที่ไทยควรพิจารณาเร่งสร้าง ได้แก่ การสร้างห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนใหม่ๆที่สำคัญของรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมขึ้นมาจากห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในเดิมที่ไทยมีอยู่แล้ว และการสร้างโอกาสส่งออกรถยนต์ BEV ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อชดเชยกับขนาดตลาดในประเทศที่เล็กกว่าอินโดนีเซีย

 

 

​​

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม