Display mode (Doesn't show in master page preview)

4 ธันวาคม 2563

อุตสาหกรรม

ส่งออกอาหารและเครื่องดื่มปี’64: คาดโต 1-5% สิ่งเร่งด่วนคือ การปรับตัวรับกับวิถีการค้ารูปแบบใหม่ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3165)

คะแนนเฉลี่ย

            ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทยไปตลาดโลกจะอยู่ที่ 24,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.0 (YoY) เนื่องจากวิกฤต COVID-19 ดันความต้องการสินค้าอาหารสูงขึ้นในฝั่งคู่ค้า และไทยรักษามาตรฐานด้านการผลิตได้ดี โดยมีสินค้าปศุสัตว์ (ไก่) ผลไม้ (สด/แช่แย็นแช่แข็ง) กลุ่มอาหารแปรรูป (อาหารทะเล/ผัก) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโต

          ​สำหรับปี 2564 ความท้าทายยังเป็นเรื่องต่อเนื่องจากปีนี้คือ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก โอกาสของการแพร่ระบาดซ้ำของ COVID-19 เงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าต่อเนื่อง ตลอดจนต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้น ส่วนสิ่งที่ต้องจับตาเพิ่มเข้ามาก็คือ ปริมาณสินค้ากลุ่มอาหารที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดมากขึ้น บวกกับน้ำหนักของการกระจายการลงทุนออกสู่ภูมิภาคมากขึ้นของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งจะมีส่วนต่อการเติบโตของการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทย เบื้องต้นคาดว่า มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยปี 2564 น่าจะอยู่ที่ 25,150-26,150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.0-5.0 (YoY) โดยกลุ่มสินค้าที่น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องคือ กลุ่มสินค้าปศุสัตว์ (โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไก่) ผลไม้ (สด/แช่แย็นแช่แข็ง) สิ่งปรุงรสอาหารและสมุนไพร ส่วนกลุ่มสินค้าที่อาจจะเติบโตได้จำกัดหรือมีแนวโน้มจะหดตัว ได้แก่ กลุ่มอาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป และสินค้าประมง

            ​ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หลังวิกฤต COVID-19 ด้วยสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคจะหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานสินค้ามากขึ้น อีกทั้งมาตรการทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ซึ่งคู่ค้าสามารถหยิบยกขึ้นมาเพื่อปกป้องทางการค้าได้ ยังจะเป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อมุ่งไปสู่ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่ออนาคตและตอบสนองวิถีชีวิต New Normal ที่ตระหนักถึงสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลมากขึ้นในฝั่งของผู้บริโภค โดยสินค้าที่มีโอกาสทางการตลาดสูง คือ อาหารฟังก์ชั่นนอล ออร์แกนิค โปรตีนทางเลือกจากพืช/แมลง อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง/พร้อมทาน รวมถึงสิ่งปรุงรสอาหาร และสมุนไพร


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อุตสาหกรรม