Display mode (Doesn't show in master page preview)

23 ธันวาคม 2563

เกษตรกรรม

เครื่องตัดอ้อย : หนึ่งในเครื่องมือบรรลุเป้าหมายลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้...เพิ่มรายได้เกษตรกรและลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3174)

คะแนนเฉลี่ย

​รูปแบบการตัดอ้อยไฟไหม้เข้าโรงงานที่นิยมในไทย โดยมีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 63.3 ในช่วง 10 ปีการผลิตที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้เกษตรกรถูกหักค่าอ้อย ยังเป็นการเพิ่มแหล่งกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า หากมีการส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรตัดอ้อยสด นอกจากช่วยลดปัญหาฝุ่นได้ระดับหนึ่ง ยังช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้สุทธิถึงประมาณ 74,550 บาทต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การสนับสนุนให้มีการตัดอ้อยสดเข้าโรงงาน จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนเครื่องจักรที่เพียงพอต่อการตัดอ้อยสด ซึ่งปัจจุบันมีเพียงประมาณ 2,000-2,500 คัน จากที่ควรมีประมาณ 3,400-4,500 คัน จึงจะเพียงพอตัดอ้อยสดได้ทั้งหมด ประการสำคัญคือการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่การปลูกเดิมที่คุ้นเคย มาสู่รูปแบบการปลูกใหม่ที่เหมาะสำหรับการนำเครื่องจักรมาใช้  ทดแทนรูปแบ​บการเผาไร่อ้อยก่อนตัดที่เคยนิยม

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเด็นความท้าทายของการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพิ่มรถตัดอ้อย คือราคารถตัดที่ค่อนข้างสูงถึง 8-12 ล้านบาท ดังนั้น  ในเบื้องต้นหน้าที่นี้อาจจะต้องเป็นของโรงงานน้ำตาล ซึ่งเป็นผู้รับวัตถุดิบปลายน้ำที่จะเป็นผู้ลงทุน หรืออาจลงทุนร่วมกับเกษตรกรรายใหญ่ โดยภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนด้านต่างๆ อาทิ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือมาตรการด้านภาษี รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตเครื่องตัดอ้อยที่มีราคาถูกลง เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้มากขึ้น ประการสำคัญ ควรมีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปถึงชาวไร่อ้อยเกี่ยวกับสัดส่วนอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ที่ต้องทำได้ในแต่ละปี โดยมีมาตรการบังคับที่ชัดเจนและจริงจัง ซึ่งจะช่วยลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลดลงหรือหมดไปในระยะข้างหน้า


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เกษตรกรรม