Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 กุมภาพันธ์ 2551

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยหลังรัฐบาลใหม่ ... ความคาดหวังและประเด็นที่ต้องติดตาม (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2112)

คะแนนเฉลี่ย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (Year-on-Year) ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 3 โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น และการส่งออกยังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ของทั้งปี 2550 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.6 ลดลงจากร้อยละ 5.1 ในปี 2549

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2551 นั้น ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงปลายปี 2550 ภารกิจสำคัญของรัฐบาลจึงอยู่ที่การเตรียมรับมือกับสภาวะความผันผวนของปัจจัยภายนอกประเทศ โดยปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการชะลอตัวรุนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจถึงขั้นถดถอย รวมทั้งปัญหาราคาน้ำมันที่ยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้อีก จากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้นนี้ คาดว่า การส่งออกอาจจะชะลอตัวลงอย่างมากในปี 2551 ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ หลายฝ่ายจึงตั้งความหวังไว้ต่อบทบาทของรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ

โดยภาพรวม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2551 โดยประเมินว่า ปัญหาราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2551 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.7-4.0 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากระดับร้อยละ 2.3 ในปี 2550 ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะชะลอตัวอย่างรุนแรงในช่วงครึ่งปีแรก มีค่ากลางของอัตราการขยายตัวในปี 2551 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.8 โดยกรอบประมาณการอัตราการขยายตัวอยู่ระหว่างหดตัวลงร้อยละ 0.5 ถึงขยายตัวร้อยละ 1.5 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 2.2 ในปี 2550 ภายใต้สมมติฐานดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2551 อาจขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดยมีค่ากลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.6 และมีช่วงกรอบประมาณการระหว่างร้อยละ 4.0-5.2

ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปี 2550-2551

หน่วย: %YoY หรือระบุเป็นอย่างอื่น

2550

2551

กรอบประมาณการ

ค่ากลาง

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ย (ดอลลาร์ฯ)

72.5

75.0-95.0

85.0

อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

2.2

-0.5 to +1.5

0.8

ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย (บาท)

25.5

25.2-31.3

27.9

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป

2.3

2.7-4.0

3.3

อัตราการขยายตัวของ GDP

4.6

4.0-5.2

4.6

การบริโภคของภาคเอกชน

1.8

1.5-3.5

2.5

การลงทุน

1.1

2.5-6.5

4.5

งบประมาณของรัฐบาล (% ของ GDP)

-1.6

-1.6 to -3.0

-2.5

อัตราการขยายตัวของการส่งออก

18.1

5.0-10.0

7.0

อัตราการขยายตัวของการนำเข้า

9.6

7.0-13.0

9.0

ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ฯ)

14.9

10.5-12.5

12.5

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญนับจากนี้ยังมีประเด็นเฉพาะหน้าหลายประการที่ยังคงต้องรอคอยความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่ อาทิ แนวทางการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ แผนการที่ชัดเจนของโครงการลงทุนของรัฐที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งต้องคำนึงถึงฐานะการคลังในระยะปานกลางถึงระยะยาวควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ การกำหนดแนวทางของมาตรการกันสำรอง 30% และแผนการรองรับผลกระทบจากการเก็งกำไรในค่าเงินบาท รวมทั้งการตัดสินใจของทางการต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ก็เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจและนักลงทุนต่างประเทศกำลังเฝ้าติดตาม

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย